วันศุกร์ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2555

บทที่ 5

ข้มูลเกี่ยวกับอินเตอร์เน็

โปรโตคอล TCP/IP

    ภายในเวลาไม่นานนักหน่วยงานอื่น ๆได้เริ่มเห็นคุณประโยชน์ของการติดต่อสื่อสารแบบอิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้ในอาร์พาเน็ต ดังนั้นหน่วยงานเหล่านั้นจึงต้องการนำเอาบรรดาคอมพิวเตอร์ของหน่วยงานตนมาเชื่อมต่อกับอาร์พาเน็ต
    การที่คอมพิวเตอร์จะสามารถติดต่อสื่อสารกันได้นั้นต้องใช้กฎเกณฑ์ด้านการสื่อสารเดียวกัน กฎเกณฑ์ด้านการสื่อสารในภาษาอังกฤษเรียกว่าโปรโตคอล (Protocol) เงื่อนไขนี้ทำให้เกิดปัญหาในการเชื่อมต่อ ทั้งนี้เพราะว่าคอมพิวเตอร์ที่ผลิตจากแต่ละบริษัทต่างก็ใช้โปรโตคอลของตนเอง เช่น คอมพิวเตอร์ที่ผลิตโดยไอบีเอ็มก็ใช้โปรโตคอลของไอบีเอ็ม และเมื่อนำคอมพิวเตอร์นั้นไปเชื่อมต่อเข้ากับอาร์พาเน็ต ก็ย่อมไม่สามารถติดต่อสื่อสารกับคอมพิวเตอร์ทั้งหลายในอาร์พาเน็ตได้ ทั้งนี้ เพราะว่าอาร์พาเน็ตก็ใช้โปรโตคอล ของตนเองไม่ได้ใช้โปรโตคอลของไอบีเอ็ม
    เพื่อให้การนำเอาคอมพิวเตอร์จากหน่วยงานอื่นมาเชื่อมต่อได้สะดวก อาร์พาเน็ตต้องเปลี่ยนมาใช้โปรโตคอลที่สะดวกต่อการเชื่อมต่อ และเป็นโปรโตคอลที่ไม่ได้เป็นของบริษัทหนึ่งบริษัทใดโดยเฉพาะ พร้อมทั้งข้อมูลทางด้านเทคนิคของโปรโตคอลนั้นเป็นที่เปิดเผยต่อสาธารณะและ เป็นโปรโตคอลที่บริษัทและหน่วยงานส่วนใหญ่ยอมรับ โปรโตคอลที่มีคุณสมบัติดังกล่าวนี้คือTCP/IP วินตัน เซิร์ฟ(Vinton Cerf)จากมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด และโรเบิร์ต คาห์น (Robert Kahn) จาก BBN เป็นผู้พัฒนาโปรโตคอล TCP/IP อาร์พาเน็ตได้เปลี่ยนมาใช้โปรโตคอล TCP/IP ในช่วงกลางทศวรรษที่ 1970 ผลก็คือทำให้หลังจากนั้นคอมพิวเตอร์จากหน่วยงานอื่นที่มาเชื่อมต่อเข้าอาร์ พาเน็ตทำได้สะดวกขึ้น กล่าวคือถ้าต้องการเชื่อมต่อกับอาร์พาเน็ตก็ปรับให้คอมพิวเตอร์สามารถใช้โป รโตคอล TCP/IP ได้ จำนวนคอมพิวเตอร์ที่มาเชื่อมต่อเข้ากับอาร์พาเน็ตได้เพิ่มจำนวนมากขึ้น เรื่อย ๆอย่างรวดเร็ว

Internet เน็ตเวิร์กของเน็ตเวิร์ก

    ในทศวรรษที่ 1980 อาร์พาเน็ตได้ขยายตัวใหญ่ขึ้นอีก คือ ได้มีบรรดาเน็ตเวิร์กอื่น ๆเป็นจำนวนมากได้มาเชื่อมต่อกับอาร์พาเน็ต ในตอนนี้กล่าวได้ว่าอาร์พาเน็ตประกอบขึ้นด้วยเน็ตเวิร์กเป็นจำนวนมากมิได้มี เพียงเน็ตเวิร์กเดียว(ในตอนเริ่มต้น) เน็ตเวิร์กทั้งหลายในอาร์พาเน็ตพอจำแนกออกได้ดังนี้
  • ARPANET
  • MILNET เน็ตเวิร์กด้านทหาร
  • NSFNET (National Science Foundation network)
  • OTHER NETS เน็ตเวิร์กอื่นๆ เช่น Bitnet Usenet
    สิ่งที่เกิดขึ้นกล่าวได้ว่าเป็นเน็ตเวิร์กของเน็ตเวิร์กโดยมีอาร์พาเน็ตเป็นเน็ตเวิร์กหนึ่งในนั้น ดังนั้นเพื่อให้สื่อความหมายจึ่งได้เปลี่ยนจากการใช้ชื่ออาร์พาเน็ตมาเป็นใช้ชื่ออินเตอร์เน็ต (Internet) แทนในช่วงต้นทศวรรษที่ 1980 และในช่วงเดียวกันนั้นกระทรวงกลาโหมของสหรัฐได้ตัดสินใจแยก MILNET เน็ตเวิร์กด้านทหารออกจากอินเตอร์เน็ต
 
  
    ต่อมาในทศวรรษที่ 1990 บรรดา Service Provider ทั้งหลาย เช่น CompuServe, Deplhi , AmericanOnline เป็นต้น ได้นำเน็ตเวิร์กของตนต่อเข้ากับอินเตอร์เน็ต จึงทำให้ผู้คนทั้งหลายสามารถใช้บริการจาก Service Provider เหล่านี้ได้ทางอินเตอร์เน็ต นอกจากนี้หน่วยงานทางด้านการเงินบางแห่ง เช่น ธนาคาร ได้เปิดให้บริการผ่านทางอินเตอร์เน็ตด้วย

    ในทศวรรษที่ 1990 บรรดาหน่วยงาน service Provider และ online service provider ทั้งหลายได้ทำการเชื่อมต่อเข้าหา Internet

ประเภทของเน็ตเวิร์กใน Internet


 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น