วันศุกร์ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2555

บทที่ 5

ข้มูลเกี่ยวกับอินเตอร์เน็

โปรโตคอล TCP/IP

    ภายในเวลาไม่นานนักหน่วยงานอื่น ๆได้เริ่มเห็นคุณประโยชน์ของการติดต่อสื่อสารแบบอิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้ในอาร์พาเน็ต ดังนั้นหน่วยงานเหล่านั้นจึงต้องการนำเอาบรรดาคอมพิวเตอร์ของหน่วยงานตนมาเชื่อมต่อกับอาร์พาเน็ต
    การที่คอมพิวเตอร์จะสามารถติดต่อสื่อสารกันได้นั้นต้องใช้กฎเกณฑ์ด้านการสื่อสารเดียวกัน กฎเกณฑ์ด้านการสื่อสารในภาษาอังกฤษเรียกว่าโปรโตคอล (Protocol) เงื่อนไขนี้ทำให้เกิดปัญหาในการเชื่อมต่อ ทั้งนี้เพราะว่าคอมพิวเตอร์ที่ผลิตจากแต่ละบริษัทต่างก็ใช้โปรโตคอลของตนเอง เช่น คอมพิวเตอร์ที่ผลิตโดยไอบีเอ็มก็ใช้โปรโตคอลของไอบีเอ็ม และเมื่อนำคอมพิวเตอร์นั้นไปเชื่อมต่อเข้ากับอาร์พาเน็ต ก็ย่อมไม่สามารถติดต่อสื่อสารกับคอมพิวเตอร์ทั้งหลายในอาร์พาเน็ตได้ ทั้งนี้ เพราะว่าอาร์พาเน็ตก็ใช้โปรโตคอล ของตนเองไม่ได้ใช้โปรโตคอลของไอบีเอ็ม
    เพื่อให้การนำเอาคอมพิวเตอร์จากหน่วยงานอื่นมาเชื่อมต่อได้สะดวก อาร์พาเน็ตต้องเปลี่ยนมาใช้โปรโตคอลที่สะดวกต่อการเชื่อมต่อ และเป็นโปรโตคอลที่ไม่ได้เป็นของบริษัทหนึ่งบริษัทใดโดยเฉพาะ พร้อมทั้งข้อมูลทางด้านเทคนิคของโปรโตคอลนั้นเป็นที่เปิดเผยต่อสาธารณะและ เป็นโปรโตคอลที่บริษัทและหน่วยงานส่วนใหญ่ยอมรับ โปรโตคอลที่มีคุณสมบัติดังกล่าวนี้คือTCP/IP วินตัน เซิร์ฟ(Vinton Cerf)จากมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด และโรเบิร์ต คาห์น (Robert Kahn) จาก BBN เป็นผู้พัฒนาโปรโตคอล TCP/IP อาร์พาเน็ตได้เปลี่ยนมาใช้โปรโตคอล TCP/IP ในช่วงกลางทศวรรษที่ 1970 ผลก็คือทำให้หลังจากนั้นคอมพิวเตอร์จากหน่วยงานอื่นที่มาเชื่อมต่อเข้าอาร์ พาเน็ตทำได้สะดวกขึ้น กล่าวคือถ้าต้องการเชื่อมต่อกับอาร์พาเน็ตก็ปรับให้คอมพิวเตอร์สามารถใช้โป รโตคอล TCP/IP ได้ จำนวนคอมพิวเตอร์ที่มาเชื่อมต่อเข้ากับอาร์พาเน็ตได้เพิ่มจำนวนมากขึ้น เรื่อย ๆอย่างรวดเร็ว

Internet เน็ตเวิร์กของเน็ตเวิร์ก

    ในทศวรรษที่ 1980 อาร์พาเน็ตได้ขยายตัวใหญ่ขึ้นอีก คือ ได้มีบรรดาเน็ตเวิร์กอื่น ๆเป็นจำนวนมากได้มาเชื่อมต่อกับอาร์พาเน็ต ในตอนนี้กล่าวได้ว่าอาร์พาเน็ตประกอบขึ้นด้วยเน็ตเวิร์กเป็นจำนวนมากมิได้มี เพียงเน็ตเวิร์กเดียว(ในตอนเริ่มต้น) เน็ตเวิร์กทั้งหลายในอาร์พาเน็ตพอจำแนกออกได้ดังนี้
  • ARPANET
  • MILNET เน็ตเวิร์กด้านทหาร
  • NSFNET (National Science Foundation network)
  • OTHER NETS เน็ตเวิร์กอื่นๆ เช่น Bitnet Usenet
    สิ่งที่เกิดขึ้นกล่าวได้ว่าเป็นเน็ตเวิร์กของเน็ตเวิร์กโดยมีอาร์พาเน็ตเป็นเน็ตเวิร์กหนึ่งในนั้น ดังนั้นเพื่อให้สื่อความหมายจึ่งได้เปลี่ยนจากการใช้ชื่ออาร์พาเน็ตมาเป็นใช้ชื่ออินเตอร์เน็ต (Internet) แทนในช่วงต้นทศวรรษที่ 1980 และในช่วงเดียวกันนั้นกระทรวงกลาโหมของสหรัฐได้ตัดสินใจแยก MILNET เน็ตเวิร์กด้านทหารออกจากอินเตอร์เน็ต
 
  
    ต่อมาในทศวรรษที่ 1990 บรรดา Service Provider ทั้งหลาย เช่น CompuServe, Deplhi , AmericanOnline เป็นต้น ได้นำเน็ตเวิร์กของตนต่อเข้ากับอินเตอร์เน็ต จึงทำให้ผู้คนทั้งหลายสามารถใช้บริการจาก Service Provider เหล่านี้ได้ทางอินเตอร์เน็ต นอกจากนี้หน่วยงานทางด้านการเงินบางแห่ง เช่น ธนาคาร ได้เปิดให้บริการผ่านทางอินเตอร์เน็ตด้วย

    ในทศวรรษที่ 1990 บรรดาหน่วยงาน service Provider และ online service provider ทั้งหลายได้ทำการเชื่อมต่อเข้าหา Internet

ประเภทของเน็ตเวิร์กใน Internet


 

วันพฤหัสบดีที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2555

บทที่ 5



บททที่ 5
การบรหารจ ิ ดการและการต ั ดตามประเม ิ นผล ิ
แผนแมบทเทคโนโลย  สารสนเทศกระทรวงว ี ฒนธรรมและส ั านํ กงานปล ั ดกระทรวงและส ั านํ กงานร ั ฐมนตร ั ี
การวัดผลวาแผนแมบทเทคโนโลยีสารสนเทศและการส่ือสารกระทรวงวัฒนธรรม สํานักงานปลัดกระทรวงและ
สํานักงานรัฐมนตรีประสบผลสําเร็จดังเปาหมายท่ีต้ังไวหรือไมน้ันจําเปนตองพัฒนาโครงสรางการพัฒนาการบริหาร
จัดการและการติดตามประเมินผลเพ่ือใหเปนเคร่ืองมือในการบริหารแผนฯและการประเมินผลอยางมีประสิทธิภาพ  โดย
อาศยตั วชั ว้ีดความส ั าเร ํ จในหลายม ็ ติ และหลายระด ิ บั
5.1 การบรหารจ ิ ดการระด ั บนโยบายตามแนวทางของแผนแม ั บทเทคโนโลย  สารสนเทศและการส ี อสารของ ่ื
ประเทศไทย  พ.ศ. 2552 – 2556
ในแผนแมบทเทคโนโลยีสารสนเทศและการส่ือสารของประเทศไทย  พ.ศ. 2552 – 2556 ไดกําหนดให
กระทรวงและหนวยงานในสังกัด ใหมีคณะกรรมการเทคโนโลยีสารสนเทศของกระทรวง และของหนวยงานใน
สังกัดรับผิดชอบในการบริหารแผนในแตละระดับ โดยใหผูบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศระดับสูง (CIO)  เปน
ประธานคณะกรรมการเทคโนโลยสารสนเทศและให ี คณะกรรมการฯ  รายงานผลการดําเนินงานตอคณะกรรมการฯ
ในระดบสั งขู นไปท ้ึ กุ 6 เดอนื ดงผั งแสดงความส ั มพั นธั ของแผนฯ  และการบรหารจ ิ ดการแผนฯ


บทที่ 4




                                                             บทที่ 4
                                    เทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อสารการศึกษา

ระบบสารสนเทศที่ก าลังได้รับความสนใจอย่างมากในขณะนี้ คือ เทคโนโลยีแบบ
สื่อประสม (Multimedia)  ซึ่งรวมข้อความ จ านวน ภาพ สัญลักษณ์และเสียงเข้ามาผสมกัน
เทคโนโลยีนี้ก าลังได้รับการพัฒนา ในอนาคตเทคโนโลยีแบบสื่อประสมจะช่วยเสริมและ
สนับสนุนงานด้านสารสนเทศให้ก้าวหน้าต่อไป เป็นที่คาดหมายว่าอัตราการเติบโตของ            
ผู้ท างานด้านนี้จะมีมากขึ้น จนน าหน้าสายอาชีพอื่นได้ทั้งหมดในไม่ช้านี้
ส านักงานเป็นแหล่งที่มีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศมากที่สุด เช่น การใช้เครื่อง
คอมพิวเตอร์ท าบัญชีเงินเดือนและบัญชีรายรับรายจ่ายการติดต่อสื่อสารภายในและภายนอก
หน่วยงานด้านการใช้เครื่องโทรศัพท์ เครื่องโทรสารและการใช้ตู้ชุมสายโทรศัพท์ การจัดเตรียม
เอกสารด้วยการใช้เครื่องพิมพ์ดีดเครื่องถ่ายส าเนา และเครื่องคอมพิวเตอร์
แนวโน้มของเทคโนโลยีสารสนเทศจะค่อยๆ กลายมาเป็นระบบรวม โดยให้เครื่อง
ระบบหนึ่งท างานพร้อมกันได้หลายๆ อย่าง เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ นอกจากใช้ประมวลผล
ข้อมูลด้านบัญชีแล้ว ยังใช้งานจัดเตรียมเอกสารแทนเครื่องพิมพ์ดีด ใช้รับส่งข้อความหรือ
จดหมายกับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่อยู่ห่างไกล ซึ่งอาจอยู่คนละซีกโลกในลักษณะที่เรียกว่า
ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ส าหรับเครื่องถ่ายเอกสาร นอกจากจะใช้ถ่ายส าเนาเอกสารตามปกติ



บทที่ 3


บทที่ 3 เครือข่ายอินเตอร์เน็ต

ความหมายและพัฒนาการอินเตอร์เน็ต


            อินเทอร์เน็ต ( Internet) หมายถึงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ ที่มีการเชื่อมต่อระหว่างเครือข่ายหลายๆ เครือข่ายทั่วโลก โดยใช้ภาษาที่ใช้สื่อสารกันระหว่างคอมพิวเตอร์ที่เรียกว่า โพรโตคอล (Protocol) ผู้ใช้เครือข่ายนี้สามารถสื่อสารถึงกันได้ในหลายๆ ทาง อาทิเช่น อีเมล เว็บบอร์ด และสามารถสืบค้นข้อมูลและข่าวสารต่างๆ รวมทั้งคัดลอกแฟ้มข้อมูลและโปรแกรมมาใช้ได้
            อินเทอร์เน็ต คือ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ ที่เป็นเครือข่ายใหญ่ และเครือข่ายย่อย จำนวนมากเชื่อมต่อกัน เป็นจำนวนหลายร้อยล้านเครื่อง ซึ่งใช้ในการติดต่อสื่อสารข้อมูลที่เป็นรูปภาพ ข้อความ และเสียง โดยผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ที่มีผู้ใช้งานกระจายอยู่ทั่วโลก

           อินเทอร์เน็ต มีจุดเริ่มต้นมาจากเหตุผลทางการทหาร เนื่องจากในยุคสงครามเย็น เมื่อประมาณ  พ.ศ.2510 ระหว่างฝ่ายคอมมิวนิสต์ และฝ่ายเสรีประชาธิปไตย ซึ่งนำโดยสหรัฐอเมริกา โดยต่างฝ่าย ต่างก็กลัวขีปนาวุธ ของอีกฝ่ายหนึ่ง โดยผู้นำสหรัฐอเมริกา วิตกว่า ถ้าหากทางฝ่ายรัสเซีย ยิงขีปนาวุธนิวเคลียร์เข้ามา ถล่มจุดยุทธศาสตร์บางจุดของตนเองขึ้นมา อาจจะทำให้คอมพิวเตอร์ ที่เชื่อมต่อกันเสียหายได้ จึงได้สั่งให้มีการวิจัย เพื่อสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ชนิดใหม่ขึ้นมา เพื่อป้องกันความเสียหาย โดยมีจุประสงค์ว่า ถ้าคอมพิวเตอร์เครื่องใดเครื่องหนึ่ง ถูกทำลาย แต่เครื่องอื่นก็จะต้องใช้งานต่อไปได้ หน่วยงานที่ทำหน้าที่ดูแลระบบเครือข่าย ในขณะนั้นมีชื่อว่า ARPA (Advanced Research Projects Agency) ดังนั้นชื่อเครือข่ายในขณะนั้น จึงถูกเรียกว่า ARPANET
               ต่อมาในปี พ.ศ. 2547 เครือข่ายขยายใหญ่โต เพิ่มมากขึ้น จากการระดม นักวิจัยเพื่อสร้างมาตรฐานใหม่ขึ้นมา เพื่อความเหมาะสม จึงได้มาตรฐาน TCP/IP และนอกจากประโยชน์ด้านงานวิจัย และทางทหารแล้ว ยังได้นำมาใช้ประโยชน์ทางด้านธุรกิจ และการพาณิชย์อีกด้วย
               ต่อมาในปี พ.ศ. 2532 ได้เปลี่ยนชื่อเป็นเครือข่ายอินเทอร์เน็ต และนำมาใช้ประโยชน์ ในการติดต่อข้อมูลข่าวสารมากมาย สำหรับในประเทศไทยได้มีการเริ่มต้นติดตั้งระบบอินเทอร์เน็ต เป็นครั้งแรกที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ เพื่อใช้ในการศึกษาของมหาวิทยาลัย โดยติดต่อกับสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย โดยเชื่อมต่อเครื่องมินิคอมพิวเตอร์ เพื่อรับส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ กับมหาวิทยาลัยเมลเบิร์น ประเทศออสเตรเลีย ในปี พ.ศ. 2530
               ต่อมากระทวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและพลังงาน ได้มอบหมายให้ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) ให้ทุนสนับสนุน แก่สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า เจ้าคุณทหารลาดกระบัง เพื่อศึกษา ถึงการเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์ ของมหาวิทยาลัยด้านวิทยาศาสตร์ 12 แห่งเข้าเป็นเครือข่ายเดียวกันเมื่อ พ.ศ. 2531 หลังจากนั้นจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้เป็นเกตเวย์อินเทอร์เน็ต ในประเทศไทยและเริ่มให้บริการทางอินเทอร์เน็ต เต็มรูปแบบในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2535
               และต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2537 การสื่อสารแห่งประเทศไทย ร่วมลงทุนกับหน่วยงานของรัฐ และเอกชน เปิดให้บริการอินเทอร์เน็ตเชิงพาณิชย์ 2 รายคือบริษัทอินเทอร์เน็ตประเทศไทย จำกัด และบริษัท อินเทอร์เน็ต คอมเมอร์เชียล แอนด์โนว์เลจเซอร์วิส จำกัด ภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็น KSC คอมเมอร์เชียลอินเทอร์เน็ต จำกัด

การเชื่อมต่อเข้าสู่ระบบอินเทอร์เน็ต

          การเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์เข้าสู่อินเทอร์เน็ตผู้ใช้จะต้องสมัครเป็นสมาชิกเครือข่ายจะต้องมีบีประจำเครื่อง (Account Number) ที่ศูนย์บริการ แล้วเชื่อโยงคอมพิวเตอร์เข้ากับเครื่องที่ศูนย์บริการ โดยใช้สายโทรศัพท์ผ่านทางโมเด็ม (Modem) และจะมีซอฟต์แวร์ทำหน้าที่แปลงคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้เป็นเทอร์มินัลของคอมพิวเตอร์ที่ศูนย์บริการเมื่อสมัครเป็นสมาชิกแล้ว ผู้ใช้จะมี User ID หรือ User name หรือ Login name  และ Password ผู้ใช้จะต้องจัดเตรียมและเชื่อมต่ออุปกรณ์ดังนี้

1. เครื่องคอมพิวเตอร์  ไม่จำกัดชนิดและยี่ห้อ ส่วนใหญ่ที่นิยมใช้จะใช้เครื่อง PC

2. โมเด็ม ทำหน้าที่ช่วยให้คอมพิวเตอร์แลกเปลี่ยนข้อมูลผ่านสายโทรศัพท์ได้ ความเร็วของโมเด็มเป็นความเร็วในการส่งข้อมูลผ่านสายโทรศัพท์ โมเด็มมีขนาดความเร็วต่าง ๆ กัน   โมเด็มมีขนาดความเร็วสูงตั้งแต่ 14.4 Kbps ขึ้นไป  ส่วนใหญ่แล้วจะมีความสามารถรับส่ง Fax ได้ด้วย เรียกกว่า Fax Modem โมเด็มที่มีความเร็วสูงจะมีราคาแพงกว่า ความเร็วของโมเด็มวัดเป็นบิดต่อวินาที (bps)

      โมเด็มแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
        2.1)โมเด็มภายใน (internal modem) 
เป็นการ์ดที่เสียบลงบนสล็อต (slot) ของเมนบอร์ด
         2.2)โมเด็มภายนอก (External modem) เป็นกล่องขนาดเล็ก มีพอร์ต (port)  เพื่อเสียบสัญาณจากคอมพิวเตอร์ 
                 เข้าโมเด็ม มีช่องสำหรับเสียบสายโทรศัพท์ และมีสายไฟจากโมเด็มเพื่อต่อเข้ากับไฟบ้าน

3. โทรศัพท์  เพื่อเชื่อมต่อสายโทรศัพท์เข้ากับโมเด็ม  เพื่อให้สัญญาณข้อมูลส่งผ่านสายโทรศัพท์  ดังนั้นผู้ต้องการใช้บริการอินเทอร์เน็ต  จะต้องมีโทรศัพท์หนึ่งเลขหมายในการต่อเข้ากับอินเทอร์เน็ต

4. ซอฟต์แวร์
  ในการใช้อินเทอร์เน็ตจะมีโปรแกรมที่เกี่ยวข้องอยู่ 3 ประเภทคือ        
       1.โปรแกรมที่ใช้ในการติดต่อเพื่อจัดการส่งข้อมูลระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์กับอินเทอร์เน็ต  ถ้าเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ระบบปฏิบัติการ Window 95 จะมีโปรแกรม dial-Up Networking ที่ใช้ในการสื่อสารอยู่แล้ว
       2. โปรแกรมที่ใช้รับส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (E-mail) เช่น Eudora
       3. โปรแกรมที่ใช้ค้นหาข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต เรียกกว่า บราวเซอร์ (Browser) เช่น Netscape Navigator, Internet Exploer

5.ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (ISP : Internet Service Provider)
ผู้ใช้จะต้องสมัครเป็นสมาชิกเครือข่ายกับผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต  ซึ่งเป็นศูนย์บริการให้กับสมาชิก ซึ่งมีทั้งภาครัฐและเอกชน ซึ่งผู้ให้บริการเหล่านี้จะเชื่อมโยงกับระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตทั่วโลกโดยศูนย์บริการเหล่านี้จะต้องเสียเงินค่าเช่าสายสัญญาณไปต่างประเทศให้กับรัฐ

บทที่ 2


บทที่ 2
เทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อสารการศึกษา
บทบาทความส าคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ
การเปลี่ยนแปลงสังคมความเป็นอยู่ของมนุษย์เป็นไปอย่างรวดเร็ว กล่าวกันว่า        
ได้เกิดการเปลี่ยนแปลงในลักษณะที่เรียกว่า การปฏิวัติมาแล้วสองครั้ง ครั้งแรกเกิดจากการ    
ที่มนุษย์รู้จักใช้ระบบชลประทานเพื่อการเพาะปลูก สังคมความเป็นอยู่ของมนุษย์จึงเปลี่ยน
จากการเร่ร่อนมาเป็นการตั้งหลักแหล่งเพื่อท าการเกษตรต่อมาเมื่อประมาณร้อยกว่าปีที่แล้ว
ก่อนสงครามโลกครั้งที่ 1  หลังจากที่เจมส์วัตต์ประดิษฐ์เครื่องจักรไอน้ า มนุษย์รู้จักน าเอา
เครื่องจักรมาช่วยในอุตสาหกรรมการผลิตและช่วยในการสร้างยานพาหนะเพื่องานคมนาคม
ขนส่ง ผลที่ตามมาท าให้เกิดการปฏิวัติทางอุตสาหกรรม สังคมความเป็นอยู่ของมนุษย์จึง
เปลี่ยนจากสังคมเกษตรมาเป็นสังคมเมืองและเกิดรวมกันเป็นเมืองอุตสาหกรรมต่างๆ
ในช่วงปีพ.ศ. 2523 เป็นต้นมา ความเจริญก้าวหน้าทางด้านคอมพิวเตอร์และ
ระบบสื่อสารข้อมูลเป็นไปอย่างรวดเร็วการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อประมวลผลข้อมูลเป็นไปอย่าง
กว้างขวางมีการส่งถ่ายข้อมูลระหว่างกันเป็นจ านวนมาก เกิดการประยุกต์งานด้านต่างๆ เช่น
ระบบการโอนถ่ายเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ บัตรเอทีเอ็ม บัตรเครดิต การจองตั๋วการซื้อสินค้า
การติดต่อส่งข้อมูล เช่น โทรสาร (facsimile) ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์(electronic mail)
รูปที่ 2 สถานการณ์ในสังคมเมือง
ชีวิตความเป็นอยู่ในปัจจุบันเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะ
เทคโนโลยีทางคอมพิวเตอร์ที่มีบทบาทเพิ่มขึ้น ในปีพ.ศ. 2528  กระทรวงศึกษาธิการได้
ก าหนดในหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลาย ให้วิชาคอมพิวเตอร์เป็นวิชาเลือกของหมวดวิชา
คณิตศาสตร์ ประกอบด้วย 2 รายวิชาคือความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์และการเขียน
โปรแกรมภาษาเบสิก ต่อมาในปีพ.ศ. 2532  และ พ.ศ. 2541  ก็เปลี่ยนแปลงและเพิ่มเติม2
หลักสูตรทางด้านคอมพิวเตอร์อีกหลายวิชามีการจัดกลุ่มอยู่ในวิชาอาชีพสาขาคอมพิวเตอร์
ปัจจุบันมีโรงเรียนมัธยมศึกษาหลายแห่งทั่วประเทศเปิดการเรียนการสอนทางด้าน
คอมพิวเตอร์ขึ้น

วันพุธที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2555

บทที่ 1


บทที่ 1 เทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร



1.1 ความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร

          ปัจจุบันชีวิตความเป็นอยู่ นั้นล้วนแต่มีความเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่่อสารต่างๆ มากมาย ดังนั้น การเรียนรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยี เช่น



1.การศึกษาทางไกลผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์

2.การสั่งซื้อสินค้าและชำระเงินด้วยบัตรเครดิตผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ 

3.การเบิกเงินด้วยบัตร ATM จากตู้ ATM ของธนาคารต่างๆ


4.การส่ง E-Mail ซึ่่งเป็นการส่งข้อความถึงกันผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ผู้รับสามารถเปิดคอมพิวเตอร์เพื่ออ่านจดหมาย หรือข้อความต่างๆ ได้ และสามารถโต้ตอยกลับได้ทันที
 


คำว่า เทคโนโลยีสารสนเทศ (Inmformation Technology : IT) ประกอบด้วยคำว่า "เทคโนโลยี" กับ "สารสนเทศ"  นำมารวมกันได้ "เทคโนโลยีสารสนเทศ" และคำว่า เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (Inmformation Comunication Technology : ICT) ประกอบด้วยคำที่มีความหมายดังนี้ 
  • เทคโนโลยี (Technology) คือ เป็นการนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาใช้ในการประดิษฐ์สิ่งของต่างๆ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด
  • สารสนเทศ (Information) คือ ข้อมูลที่ผ่านกระบวนการต่างๆ อย่างมีระบบ จนได้สิ่งที่เป็นประโยชน์ มีคุณค่าและสาระ หรือมีเนื้อหาและรูปแบบที่เหมาะสมตามความต้องการของผู้ใช้


การส่งข้อมูลสารสนเทศจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง ผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์

  • เทคโนโลยีสารสนเทศ คือ การนำความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้เพื่อสร้างหรือจัดการกับสารสนเทศอย่างเป็นระบบและรวดเร็ว โดยอาศัยเทคโนโลยีทางด้านคอมพิวเตอร์ ทั้งนี้เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อบุคคล กลุ่มบุคคล หรือองค์กร และเทคโนโลยีสารสนเทศยังต้องพึ่งพาเทคโนโลยีสารสนเทศด้านการสื่อสาร และโทรคมนาคม เพื่อเป็นการส่งข้อมูลจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง โดยผ่านอุปกรณ์สื่อสารต่างๆ ดังนั้น เทคโนโลยีทั้งสองมักจะมาคู่กันเสมอๆ

  • เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร คือ เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับข่าวสารข้อมูล และการสื่อสาร นับตั้งแต่การสร้าง การนำมาวิเคราะห์หรือประมวลผล การรับและส่งข้อมูล การจัดเก็บและการนำข้อมูลกลับไปใช้งานใหม่



1.2 องค์ประกอบของสารสนเทศ

ฮาร์แวร์คอมพิวเตอร์
1.2.1 ฮาร์ดแวร์ (Hardware)    คือ ตัวเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วงต่างๆ และรวมไปถึงอุปกรณ์เชื่อมโยงคอมพิวเตอร์เข้าเป็นเครือข่าย
1.2.2 ซอฟต์แวร์ (Software)    คือ โปรแกรมหรือชุดคำสั่ง (instruction) ที่ใช้ควบคุมฮาร์ดแวร์ โดยซอฟต์แวร์แบ่งออกเป็น 


            
            1.2.2.1ซอฟต์แวร์ระบบ  (system  software)  หมายถึง  ชุดคำสั่งที่ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์  และอุปกรณ์ต่อพ่วงต่างๆ  และทำหน้าที่เป็นตัวกลางระหว่างผู้ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์
ซอฟต์แวร์ระบบแบ่งออกเป็น
          1) ระบบปฏิบัติการ (Operating System : OS) คือ ระบบที่ควบคุมการทำงานของอุปปรณ์และซอฟแวร์ภายในเครื่องทั้งหมด

ระบบปฏิบัติการต่างๆ


          2) โปรแกรมอรรถประโยชน์ (Utilities Programs)  คือ โปรแกรมที่ช่วยเสริมการทำงานของคอมพิวเตอร์ หรือช่วยโปรแกรมอื่นๆ ให้มีความสามารถใช้งานได้สะดวกและรวดเร็วยิ่งขึ้น 

โปรแกรมอรรถประโยชน์
          
         3) โปรแกรมขับอุปกรณ์ (Device Driver)  คือ โปรแกรมที่ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์สมารถติดต่ออุปกรณ์หรือใช้อุปกรณ์ต่างๆ  ได้

Device Driver
            
          4)  โปรแกรมแปลภาษา  เป็นโปรแกรมที่ทำหน้าที่แปลโปรแกรมที่เขียนขึ้นด้วยภาษาคอมพิวเตอร์ระดับสูงให้เป็นรหัสที่อยู่ในรูปแบบที่เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถทำงานได้  ดังรูปที่  1.9  ตัวอย่างตัวแปลภาษา  เช่น  ตัวแปลภาษาจาวา  ตัวแปลภาษาซี



         1.2.2.2 ซอฟต์แวร์ประยุกต์  (application  software)  หมายถึง  ชุดคำสั่งที่เขียนขึ้นเพื่อให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานตามวัตถุประสงค์เฉพาะอย่าง  ซอฟต์แวร์ประยุกต์อาจเขียนขึ้นโดยใช้โปรแกรมภาษาคอมพิวเตอร์  เช่น  เบสิก (Basic)  ปาสคาล  (Pascal)  โคบอล  (Cobol)  ซี  (C)  ซีพลัสพลัส (C++)  และจาวา (Java) ซอฟต์แวร์ประยุกต์แบ่งตามกลุ่มการใช้งานได้ดังตารางที่  1.1


1.2.3  ข้อมูล (data)   ข้อมูลจะถูกรวบรวมและป้อนเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์โดยผ่านอุปกรณ์ของหน่วยรับเข้า  เช่น  คีย์บอร์ด  เมาส์  และสแกนเนอร์  (scanner)  ข้อมูลต้องมีโครงสร้างในการจัดเก็บที่เป็นระบบเพื่อการสืบค้นที่รวดเร็วและมีประสิทธิภาพ  ข้อมูลจะถูกจัดเก็บอยู่ในหน่วยความจำ  (memory unit)  ก่อนที่จะถูกย้ายไปเก็บที่หน่วยเก็บข้อมูล  (storage unit)  เช่น  ฮาร์ดดิสก์  และแผ่นซีดี  (Compact  Disc: CD)  การป้อนข้อมูลเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์  ดังรูปที่  1.10


1.2.4  บุคลากร (people)   บุคลากรเป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่สุดของระบบสารสนเทศ  ในที่นี้หมายถึงบุคลากรที่เป็นผู้ใช้ระบบสารสนเทศ  ดังรูปที่ 1.11  บุคลากรที่เป็นผู้พัฒนาระบบสารสนเทศ  จะต้องมีความรู้ความสามารถในการพัฒนาระบบสารสนเทศให้มีประสิทธิภาพให้สามารถทำงานได้ตามความต้องการของผู้ใช้ใช้ง่ายและสะดวก  ส่วนผู้ใช้ต้องมีความรู้  ความเข้าใจ  และมีความสามารถในการใช้งานระบบสารสนเทศและการสื่อสารต่างๆ  ได้อย่างถูกต้องจึงจะเกิดสารสนเทศที่เป็นประโยชน์

รูปที่ 1.11 บุคลากรที่เป็นผู้ใช้ระบบสารสนเทศ

1.2.5  ขั้นตอนการปฏิบัติงาน (procedure)   ระบบสารสนเทศต้องมีขั้นตอนการปฏิบัติงานที่เป็นลำดับขั้นชัดเจน  เพื่อให้ผู้ใช้สามารถเข้าใจได้ง่าย  และดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ  ทั้งในสถานการณ์ปกติและสถานการณ์ฉุกเฉิน  เช่น  ขั้นตอนการบันทึกข้อมูล  ขั้นตอนการทำสำเนาข้อมูล  ขั้นตอนการปฏิบัติเมื่อข้อมูลได้รับความเสียหาย  หรือเมื่อเครื่องคอมพิวเตอร์  และอุปกรณ์ต่างๆ  เกิดการชำรุดเสียหาย  ขั้นตอนต่างๆ  เหล่านี้ควรได้รับการรวบรวมและจัดทำให้เป็นรูปเล่ม  ของคู่มือการใช้งาน  ดังรูปที่  1.12

รูปที่ 1.12 คู่มือการใช้งาน
องค์กรต่างๆ  มีการลงทุนจำนวนมากในการจัดหาระบบสารสนเทศที่มีประสิทธิภาพเพื่อนำมาช่วยงานทั้งด้านการบริหารและการจัดการงานทั่วไปขององค์กร  โดยเน้นที่คุณภาพของระบบสารสนเทศและความคุ้มค่าในการลงทุน  การใช้ระบบสารสนเทศจะเริ่มจากการนำข้อมูลป้อนเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์  ระบบคอมพิวเตอร์จะทำการประมวลผลข้อมูลเหล่านั้น  แล้วจึงส่งผลลัพธ์ออกมาให้กับผู้ใช้  ผู้ใช้ระบบสารสนเทศจะนำสารสนเทศนั้นไปใช้ประกอบการตัดสินใจในการทำกิจกรรมใดกิจกรรมหนึ่ง  หากผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผลไม่ถูกต้องหรือไม่สมบูรณ์  ก็จะต้องย้อนมาพิจารณาเริ่มต้นที่ขั้นตอนการป้อนข้อมูลใหม่อีกครั้งว่า  ข้อมูลเข้า  และขั้นตอนอื่นๆ  มีความถูกต้อง  สมบูรณ์หรือไม่  ดังรูปที่  1.13





1.3 ประโยชน์และตัวอย่างของการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

การศึกษาทางไกล บนเครื่อข่ายอินเทอร์เน็ต

ประโยชน์ของเทคโนโลยีสารสนเทศ
          การกำเนิดของคอมพิวเตอร์เมื่อประมาณห้าสิบกว่าปีที่แล้ว เป็นก้าวสำคัญที่นำไปสู่ยุคสารสนเทศ ในช่วงแรกมีการนำเอาคอมพิวเตอร์มาใช้เป็นเครื่องคำนวณ แต่ต่อมาได้มีความพยายามพัฒนาให้คอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์สำคัญสำหรับการจัดการข้อมูล เมื่อเทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์ได้ก้าวหน้ามากขึ้น ทำให้สามารถสร้างคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดเล็กลง แต่ประสิทธิภาพสูงขึ้น สภาพการใช้งานจึงใช้งานกันอย่างแพร่หลาย ผลของเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีต่อชีวิตความเป็นอยู่และสังคมจึงมีมาก มีการเรียนรู้และใช้สารสนเทศกันอย่างกว้างขวาง ผลของเทคโนโลยีสารสนเทศโดยรวมกล่าวได้ดังนี้
ตัวอย่างการเทคโนโลยีสารสนเทศ
         ระบบเอทีเอ็ม
เป็นระบบที่อำนวยความสะดวกสบายอย่างมากให้แก่ผู้ใช้บริการธนาคารและเป็นตัวอย่างเทคโนโลยีสารสนเทศทีได้รับการนำมาใช้เป็นกลยุทธ์ในการแข่งขันทางธุรกิจ ดังรูปที่ 1.13โดยในปีพ.ศ. 2520 เป็นปีที่มีการใช้เอทีเอ็มเครื่องแรกของโลก ธนาคารซิตี้แบงก์ ในเมืองนิวยอร์กเริ่มให้บริการฝากและถอนเงินโดยอัตโนมัติแก่ลูกค้า ซึ่งสามารถใช้บริการได้ตลอด 24 ชั่วโมงรวมวันเสาร์-อาทิตย์ด้วย ในขณะที่ธนาคารอื่น ๆ ที่ตั้งอยู่ใกล้ ๆ บนถนนสายเดียวกันให้บริการลูกค้าในเวลาปกติเท่านั้น คือ เฉพาะวันจันทร์ถึงศุกร์ เวลา 8.00-14.00 น.หลังจากบ่ายสองโมงก็หมดโอกาสได้รับบริการฝากถอนเงินแล้ว เมื่อวิเคราะห์มุมมองในการแข่งขันของธนาคารในการให้บริการลูกค้า กล่าวได้ว่า ระบบเอทีเอ็มของธนาคารซิตี้แบงก์เป็นบริการใหม่ที่ทำให้ลูกค้าได้รับความ
สะดวกสบาย และคล่องตัวได้ดึงดูดลูกค้าจากธนาคารอื่นมาเป็นลูกค้าของธนาคารตัวเอง และเพิ่มส่วนแบ่งการตลาดขึ้นมาเกือบสามเท่าตัวในช่วงเวลาประมาณ เดือน ก่อนที่ธนาคารคู่แข่งจะหันมาให้บริหารเอทีเอ็มบ้าง
         การลงทะเบียนเรียน
การลงทะเบียนเรียนในมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง นักศึกษาแต่ละคนสามารถเลือกเรียนวิชาที่สนใจ แต่ต้องเป็นวิชาที่กำหนดในหลักสูตร การลงทะเบียนแต่ละวิชามีข้อจำกัดคือ จำนวนนักศึกษาแต่ละห้องมีจำนวนจำกัด ดั้งนั้นการลงทะเบียนเรียนจึงต้องอาศัยข้อมูลจากการประมวลผล
แบบเชื่อมตรง เพื่อให้สามารถตรวจสอบได้ทันทีว่ามีวิชาอะไรเปิดสอนบ้าง วิชาใดมีผู้สมัครเรียนเต็มแล้ว ถ้าเต็มแล้วสามารถเปลี่ยนกลุ่ม  หรือวิชาใดแทนได้บ้าง
         การบริการและการทำธุรกรรมบนอินเทอร์เน็ต
การเติบโตของเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ทำให้มีผู้ใช้งานกันอย่างกว้างขวาง เครือข่ายอินเทอร์เน็ตเชื่อมโยงกันทั่วโลก ทำให้การสื่อสารระหว่างกันบนอินเทอร์เน็ตทำได้ง่ายและค่าใช้จ่าย
ที่ตํ่ากว่าระบบการสื่อสารแบบอื่น การสื่อสารที่นิยมบนอินเทอร์เน็ต ได้แก่ การรับส่งข้อมูลทำการแลกเปลี่ยน โอนย้ายแฟ้มข้อมูลระหว่างกัน การส่งอีเมล์ การกระจายทำการในรูปแบบเว็บเพ็จ ตลอดจนการโต้ตอบสื่อสารแบบส่งข้อความและประยุกต์ในเรื่องธุรกิจอีกมากมาย





1.4 แนวโน้มการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
1.4.1 ด้านอุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร  
            เมื่อพิจารณาเครือข่ายการสื่อสารทั่วไปจากอดีตจนถึงปัจจุบัน  เห็นได้ชัดว่ามนุษย์ใช้อุปกรณ์การสื่อสารแบบพกพามากขึ้นเรื่อยๆ  เริ่มจากวิทยุเรียกตัว (pager) ซึ่งเป็นเครื่องรับข้อความ  มาเป็นถึงโทรศัพท์เคลื่อนที่  อุปกรณ์สื่สารชนิดนี้ได้ถูกพัฒนาจนสามารถใช้งานด้านอื่นๆได้  นอกจากการพูดคุยธรรมดา  โทรศัพท์เคลื่อนที่รุ่นใหม่สามารถใช้ถ่ายรูป  ฟังเพลง  ฟังวิทยุ  ดูโทรทัศน์  บันทึกข้อมูงสั้นๆ  บางรุ่นมีลักษณะเป็นเครื่องช่วยงานส่วนบุคคล (Personal Digital Assistant : PDA) ซึ่งสามารถเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตได้  อีกทั้งยังมีหน้าจอแบบสัมผัส  ทำให้สะดวกต่อการใช้งานมากขึ้น  บางรุ่นมีอุปกรณ์สไตลัส (stylus) คือ ใช้ปากกาป้อนข้อมูลทางหน้าจอ  บางรุ่นสามารถสั่งด้วยเสียง
               
อุปกรณ์สารสนเทศแบบพกพา


         ในอนาคตอันใกล้มนุษย์จะมีอุปกรณ์ที่ทันสมัยใช้กันมากขึ้น  นอกเหนือจากการพูดคุยแบบเห็นหน้าผ่านทางอินเตอร์เน็ต  มนุษย์สามารถพูดคุยแบบเห็นหน้าผ่านทางโทรศัพท์มือถือ  ทำให้สามารถติดต่อกันได้ด้วยค่าใช้จ่ายถูกลง  สามารถส่งข้อความ ภาพ และเสียง ได้โดยง่าย  สะดวกรวดเร็ว อีกทั้งยังค้นหาข้อมูลด้วยภาษาที่เป็นธรรมชาติมากขึ้นด้วยเว็บรุ่นที่สาม (Web 3.0) 

ตัวอย่างการใช้งานอุปกรณ์คอมพิวเตอร์แบบพกพารุ่นใหม่

           ดังนั้นอุปกรณ์สำหรับเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในอนาคตมีแนวโน้มเป็นดังนี้ คือ มีขนาดเล็กลง พกพาได้ง่าย แต่มีปรัสิทธิภาพสูงขึ้น เช่น เก็บข้อมูลได้มากขึ้น ประมวลผลได้เร็วขึ้น ใช้งานได้หลากหลายมากขึ้น โดยมีการผนวกอุปกรณ์หลายๆอย่างไว้ในเครื่องเดียว(all-in-one) ที่สำคัญอุปกรณ์เหล่านี้ต้องใช้งานง่ายขึ้น รวมถึงสามารถสั้งการด้วยเสียงได้ นอกจากนี้ ยังมีระบบรักศาความปลอดภัยที่ดีขึ้น โดยอาศัยหลายนิ้วมือหรือจ่อม่านตา แทนการพิมรหัสผ่านแบบในปัจจุบัน

1.4.2 ด้านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ 
          ระบบเครื่องข่ายคอมพิวเตอร์ในอดีตมังเป็นระบบที่ใช้คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์เชื่อมต่อตรงโดยจุดเดียว (stand alone) ต่อมามีการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกันภายในองค์กร เพื่อทำให้สามารถใช้ข้อมูลร่วมกัน หรือใช้เครื่องพิมพ์ร่วมกัน จนเกิดเป็นระบบรับและให้บริการ หรือที่เรียกว่าระบบรับ-ให้บริการ (client-server system) โดยมีเครื่องให้บริการ (server) และเครื่องรับบริการ (client) การให้บริการบนเว็บก็นำหลักการของระบบรับ-ให้บริการมาใช้ช่วยให้การทำงานง่ายขึ้น สะดวก รวดเร็ว เพราะสามารถทำงานจากที่ใดก็ได้โดยผ่านระบบอินเตอร์เน็ต โดยมีเว็บเซอร์เวอร์ (web server) เป็นเครื่องให้บริการ

client-server system

          เมือการใช้งานอินเตอร์เน็ตเป็นไปอย่างแพร่หลาย การพัฒนาระบบเครือข่ายเพื่อให้ผู้ใช้สามารถสื่อสารและแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้โดยตรง โดยที่เครื่องบริการมีหน้าที่เพียงแค่เก็บตำแหน่งของเครื่องผู้ใช้งานที่มีข้อมูลนั้นๆ อยุ่เพื่อให้เครื่องอื่นสามารถทราบที่อยู่ที่มีข้อมูลดังกล่าว และเข้าถึงข้อมูลนั้นได้ เรียกระบบเหล้านี้ว่าระบบเดียวกัน(Peer-to-Peer network: P2P network)

P2P Network

          ปัจจุบันมีการใช้งานแลนไร้สาย(wireless LAN) ในสถาบันการศึกษา และองค์กรณ์หลายแห่ง การให้บริการแลนไร้สาย หรือไวไฟ (Wi-Fi) ตามห้างสรรพสินค้า ร้านขายเครื่องดื่ม หรือห้องรับลองของโรงแรมใหญ่ๆ ภาตใต้ความร่วมมือของผู้ให้บริการ ทำให้นักธุรกิจสามารถดำเนินธุรกรรมผ่านระบบอินเตอร์เน็ตแบบไร้สายได้ หรือบางรายอาจชื้อบริการอินเตอร์เน็ตแบบตำแหน่งรถด้วยจีพีเอส (Global Positioning System: GPS) กับรถแท็กซี่ เพื่อความปลอดภัยของทั้งผู้โดยสารและผู้ขับรถ
การใช้งานระบบเครือข่ายแบบไร้สาย

1.4.3 ด้านเทคโนโลยี 
         ระบบทำงานอัตโนมัติที่สามารถตัดสินใจได้เองจะเข้ามาแทนที่มากขึ้น เช่น ระบบแนวนำเส้นทางจราจร ระบบจอดรถ ระบบตรวจหาตำแหน่งของวัตถุ ระบบควบคุมความปลอดภัยภายในอาคาร ระบบที่ทำงานอัตโนมัติเช่นนี้ อาจกลายเป็นระบบหลักในการดำเนินการของหน่วยงานต่่างๆ โดยเข้ามาแทนที่การทำงานของมนุษย์ มีการเชื่อมต่ออย่างกว้างขวางไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมากกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน

            พีเอ็นดี (Personal Navigation Devie: PND) เป็นอุปกรณ์เพื่อช่วยในการนำทาง เสมือนผู้นำทางบนท้องถนนเพือให้เกิดความคล่องตัว ค้นหาเส้นทางไปยังจุดหมายได้อย่างถูกต้อง และรวดเร็ว หรือช่วยบริการเส้นทางการเดินทาง นอกจากนี้ยังสามารถรายงานสถานการหรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นระหว่างการเดินทางได้ิีอีกด้วย
             เทคโนโลยีอาร์เอฟไอดี (Radio Frequency Identification: RFID)  เป็นเทคโนโลยีที่ใช้คลื่นวิทยุเพื่อระบุเอกลักษณ์ของวัสถุ ประกอบด้วยอุปกรณ์หลักสองส่วน คือ ป้ายระบบอิเล็กทรอนิกส์ (electronice tag) และเครื่องอ่าน (reader) ตัวอย่างเช่น ในห้างสรรพสินค้ามีป้ายระบุอิเล็กทรอนิกส์ติดอยู่ที่สินค้าแต่ละชนิด และมีเครื่อง่านติดอยุ่ที่ประตุทางออก หรือจุดชำระเงิรเมื่อต้องการชำระเงินค่าสินค้า พนักงานจะใช้เครื่องอ่านอ่านราคาสินค้าจากป้ายระบุอิเล็กทรอนิกส์ ก็จะทราบราคาสินค้าหรือถ้าลืมชำระเงินแล้วเดินผ่านประตูเครื่องอ่านก็จะส่งสัญญาณเตือน




1.5 ความเปลี่ยนแปลงการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร


          ความก้าวหน้าของอุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเป็นไปอย่างรวดเร็วเพื่อสนองความต้องการด้านต่างๆ ของผู้ใช้ในปัจจุบันซึ่งมีจำนวนผูใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารทั่วโลกประมาณพันล้านคน และเพิ่มขึ้นเรื่อยๆทุกปี  ผู้ใช้สามารถใช้งานอุปกรณ์ดังกล่าวได้ทุกที่ทุกเวลา จึงทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงด้านต่างๆ ทั้งที่เกิดประโยชน์และโทษ เช่น
1)  ด้านสังคม  สภาพเหมือนจริงการใช้อินเทอร์เน็ตเชื่อมโยงการทำงานต่างๆ จนเกิดเป็นสังคมที่ติดต่อผ่านทางอินเทอร์เน็ต หรือที่รู้จักกันว่า ไซเบอร์สเปช (cyber space) ซึ่งมีกิจกรรมต่างๆ เช่นการพูดคุย การซื้อสินค้า และบริการ การทำงานผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทำให้เกิดสภาพที่เสมือนจริง (virtual) เช่น เกมเสมือนจริง ห้องเรียนเสมือนจริง ห้องสมุดเสมือนจริง พิพิธภัณฑ์เสมือนจริง ห้องประชุมเสมือนจริง และที่ทำงานเสมือนจริง ซึ่งทำให้ช่วยลดเวลาในการเดินทางและสามารถใช้งานได้ทุกที่ทุกเวลา ตัวอย่างสภาพเสมือนจริง  ดังรูปที่  1.31


รูปที่1.31 ตัวอย่างภาพเสมือนจริง
               
         สำหรับเกมเสมือนจริง อาจสร้างปัญหาให้กับผู้ใช้ที่ไม่สามารถแยกระหว่างเกมหรือชีวิตจริงอาจใช้ความรุนแรงเลียนแบบเกม และเกิดปัญหาอาชญากรรมตามที่เป็นข่าวในสังคมปัจจุบัน
          การใช้เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์ (e-cash) การใช้เงินตราจะเริ่มเปลี่ยนรูปแบบเป็นการใช้เงินอิเล็กทรอนิกส์มากขึ้น  ทำให้พกเงินสดน้อยลง เพิ่มความสะดวกในการซื้อสินค้าและบริการต่างๆด้วยบัตรที่มีลักษณะเป็นบัตรสมารต์ หรือสมาร์ตการ์ด (smart card) ดังรูปที่  1.32  ซึ่งบัตรใบเดียวสามารถใช้ได้กับธุรกรรมหลายประเภท ตั้งแต่เป็นบัตรประจำตัวประชาชน ใบอนุญาตขับขี่  บัตรประจำตัวพนักงาน หรือบัตรประจำตัวนักเรียน นักศึกษา บัตรเอทีเอ็ม บัตรเครดิต ตลอดจนบัตรสมาชิกห้างสรรพสินค้า ร้านค้าและร้านอาหารต่างๆ


รูปที่ 1.32 สมาร์ตการ์ด
          
           เนื่องจากพฤติกรรมการใช้เงินที่เปลี่ยนแปลงไปดังกล่าว  ข้อมูลส่วนบุคคลจะถูกจัดเก็บไว้ในระบบอิเล็กทรอนิกส์มากขึ้น อาจมีผู้ประสงค์ร้ายลักลอบนำข้อมูล เช่น  ชื่อ-นามสกุล เลขที่บัตรประจำตัวประชาชน เบอร์โทรศัพท์ และรหัสที่ใช้ในการถอนเงิน ซึ่งเป็นข้อมูลส่วนบุคคลมาใช้ในทางที่ผิด เช่น ลักลอบเข้าสู่ระบบฐานข้อมูลบัญชีเงินฝากของธนาคาร เพื่อโอนเงินเข้าบัญชีตนเอง การโทรศัพท์มาแอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่ของกรมสรรพากร หลอกให้ทำการโอนเงินจากบัญชีออกไปให้ โดยบอกว่าจะทำการคืนเงินภาษีทางระบบอิเล็กทรอนิกส์  
          บริการนำเสนอแบบตามคำขอหรือออนดีมานด์ (on demand)  เป็นการเข้าถึงข้อมูลตามความต้องการของผู้ใช้ได้ตลอดเวลา เช่น  การเลือกชมรายการโทรทัศน์ หรือฟังรายการวิทยุ ตามตารางที่ทางสถานีกำหนดไว้ล่วงหน้า
           การศึกษาออนดีมานด์ (education on demand) เป็นการเปิดเว็บไซต์ขของสถาบันการศึกษา ณ ที่ใดเวลาใดก้ได้ แล้วเลือกวิชาเรียน บทเรียนได้ ซึ่งเป็นลักษณะหนึ่งของอิเลิร์นนิง (e-Learning)  ตัวอย่างของการนำเสนอรายการโทรทัศน์แบบออนดีมานด์ ดังรูปที่  1.34


รูปที่ 1.34 ตัวอย่างของการนำเสนอรายการโทรทัศน์แบบออนดีมานด์
               
              การได้รับเทคโนโลยีมากเกินไป (technology overload) การพัฒนาของเทคโนโลยีเป็นไปอย่างต่อเนื่องและรวดเร็ว โดยมีรูปแบบที่หลากหลายทำให้น่าสนใจ และสะดวกในการเข้าถึง สิ่งเหล่านี้เป็นแรงดึงดูดให้บุคคลเกิดความลุ่มหลงจนเกิดเป็นอาการติดเทคโนโลยี  เช่น ติดการใช้โทรศัพท์มือถือ การถ่ายคลิป การเข้าถึงข้อมูลในอินเทอร์เน็ต การส่งข้อความออนไลน์ การใช้อีเมล หรือการเล่นเกมออนไลน์ ซึ่งอาจนำไปสู่ปัญหาสุขภาพ รวมถึงการทำลายสัมพันธภาพทางสังคม เช่นครอบครัว กลุ่มเพื่อน หรือเพื่อนร่วมงานได้ ผู้ติดเทคโนโลยีมีอาการในลักษณะเดียวกับผู้ติดสิ่งเสพติดอย่างการพนัน สุรา หรือยาเสพติด ดังรูปที่ 1.35 เริ่มต้นจากการแสวงหาเทคโนโลยีใหม่ๆ อย่างสม่ำเสมอ เพิ่มระดับการใช้งานเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่อง จนถึงอยู่ในภาวะที่ไม่สามารถหยุดการใช้งาน        
      เทคโนโลยีได้เกิดความรู้สึกกระวนกระวายใจเมื่อลืมโทรศัพท์มือถือหรืออยู่ในสถานที่ที่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตไม่ได้ถึงแม้จะตระหนักถึงผลที่ตามมาเป็นอย่างดีก็ตาม ดังนั้นผู้ปกครองจึงควรให้การเอาใจใส่  ติดตามการใช้เทคโนโลยีให้อยู่ในขอบเขตที่เหมาะสมส่งเสริมให้มีการใช้เวลาว่างในการทำกิจกรรมอื่นๆ ที่เป็นประโยชน์ แทนการใช้งานเทคโนโลยี ที่มากเกินไป

ที่มา http://album.sanook.com/files/857664
รูปที่ 1.35 การได้รับเทคโนโลยีมากเกินไปจนมีอาการเหมือนสิ่งเสพติด
                
2.  ด้านเศรษฐกิจ  เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารส่งผลให้เกิดสังคมโลกาภิวัตน์ (globalization) เพราะสามารถชมข่าว ชมรายการโทรทัศน์ที่ส่งกระจายผ่านดาวเทียมของประเทศต่างๆ ได้ทั่วโลก สามารถรับรู้ข่าวสารได้ทันที ใช้อินเทอร์เน็ตในการติดต่อสื่อสารระหว่างกัน ระบบเศรษฐกิจซึ่งแต่เดิมมีขอบเขตจำกัดภายในประเทศ  ก็กระจายเป็นเศรษฐกิจโลก เกิดกระแสการหมุนเวียนแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการอย่างกว้างขวางและรวดเร็ว ระบบเศรษฐกิจของทุกประเทศในโลกจึงเชื่อมโยงและผูกพันกันมากขึ้น ดังรูปที่ 1.36
3.  ด้านสิ่งแวดล้อม  เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มีประโยชน์ในด้านธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เช่น ระบบป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง โดยใช้ภาพถ่ายดาวเทียม หรือภาพถ่ายทางอากาศร่วมกับการจัดเก็บรักษาข้อมูลระดับน้ำทะเล ความสูงของคลื่นจากระบบเรดาร์ เป็นการศึกษาเพื่อหาสาเหตุ และนำข้อมูลมาวางแผนและสร้างระบบเพื่อป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งแต่ละแห่งได้อย่างเหมาะสม
          นอกจากนี้ในรถยนต์ที่ใช้เครื่องยนต์แบบผสม (hyblid engine)  เพื่อรักษาสิ่งแวดล้อมก็ต้องใช้เทคโนโลยีเพื่อการควบคุมให้เครื่องยนต์ลดการเผาไหม้น้ำมันเชื้อเพลิง เป็นการช่วยลดมลภาวะจากก๊าซไนโตรเจนออกไซด์ ไฮโดรคาร์บอน และก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ ที่ทำให้เกิดภาวะโลกร้อน ตัวอย่างเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารช่วยรักษาธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ดังรูปที่ 1.37
                ขยะอิเล็กทรอนิกส์ เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ จอภาพ คีย์บอร์ด  เมาส์ เครื่องพิมพ์ ที่เสียหรือไม่ใช้งานแล้ว รวมถึงอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อื่นๆ ที่ถูกทิ้งเป็นขยะ ซึ่งต่างจากขยะทั่วไป เช่นถุงพลาสติก และเศษอาหาร โดยในขยะอิเล็กทรอนิกส์ชิ้นหนึ่งๆ มีส่วนประกอบที่เป็นโลหะและพลาสติก รวมถึงวัสดุอื่นๆ ที่ประกอบกันอย่างซับซ้อน ยากต่อการแยกออกมา โดยเฉพาะในแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ มีรายงานพบว่าขยะเหล่านี้นอกจากจะมีปริมาณเพิ่มขึ้นมากอย่างรวดเร็วแล้ว ยังปลดปล่อยสารพิษปะปนเข้าสู่สิ่งแวดล้อม  การจะแยกชิ้นส่วนขยะอิเล็กทรอนิกส์แล้วนำกลับมาหลอมใช้ใหม่  หรือรีไซเคิล จึงทำได้ยากมากกว่าขยะทั่วไป เพราะต้องมีขั้นตอนวิธีที่เหมาะสม จึงต้องมีการศึกษาอย่างละเอียดโดยผู้เชี่ยวชาญและต้องจัดการอย่างมีระบบ ดังนั้นจึงควรใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ให้คุ้มค่า จะซื้อใหม่เมื่ออุปกรณ์นั้นไม่สามารถซ่อมแซมได้แล้ว และไม่เปลี่ยนอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์บ่อยๆ ตามกระแสนิยม ตัวอย่างขยะอิเล็กทรอนิกส์ ดังรูปที่ 1.38

ที่มา http://www.greenpeace.org/seasia/th/campaigns/toxics/electronics/where-does-e-waste-end-up/
รูปที่ 1.38 ขยะอิเล็กทรอนิกส์





1.5 ตัวอย่างอาชีพทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
         ตลาดแรงงานต้องการผู้ที่มีความรู้ความเข้าใจงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารอย่างแท้จริง ซึ่งงานด้านนี้จะรวมถึง งานด้านการออกแบบโปรแกรมต่างๆ โปรแกรมใช้งานบนเว็บงานด้านการเขียนโปรแกรมภาษาคอมพิวเตอร์ งานด้านฐานข้อมูล  งานด้านระบบเครือข่าย ดังนั้นองค์กรจึงมีความต้องการบุคลากรที่มีความรู้  ความสามารถในการบริหารจัดการ และพัฒนาซอฟแวร์เพื่อใช้งานด้านต่างๆ ขององค์กร ตัวอย่างอาชีพด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เช่น
นักเขียนโปรแกรมหรือโปรแกรมเมอร์  (Programmer)        ทำหน้าที่ในการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อใช้ในงานด้านต่างๆ เช่นโปรแกรมเกี่ยวกับการซื้อขายสินค้า โปรแกรมที่ใช้กับงานด้านบัญชี หรือโปรแกรมที่ใช้กับระบบงานขนาดใหญ่ขององค์กร
นักวิเคราะห์ระบบ  (System  analyst) 
         ทำหน้าที่ในการศึกษาวิเคราะห์ และพัฒนาระบบสารสนเทศ  นักวิเคราะห์ระบบจะทำการวิเคราะห์ระบบงานและออกแบบระบบสารสนเทศให้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้งาน ซึ่งอาจรวมถึงงานด้านการออกแบบฐานข้อมูลด้วย


ผู้ดูแลและบริหารฐานข้อมูล (database administrator)           ทำหน้าที่บริหารและจัดการฐานข้อมูล (database ) รวมถึงการออกแบบ บำรุงรักษาข้อมูล และการดูแลระบบความปลอดภัยของฐานข้อมูล เช่น การกำหนดบัญชีผู้ใช้การกำหนดสิทธิ์ผู้ใช้
ผู้ดูแลและบริหารระบบ (system administrator) 
         ทำหน้าที่บริหารและจัดการระบบคอมพิวเตอร์ในองค์กร โดยดูแลการติดตั้งและบำรุงรักษาระบบปฏิบัติการ การติดตั้งฮาร์ดแวร์  การติดตั้งและการปรับปรุงซอฟต์แวร์ สร้าง ออกแบบและบำรุงรักษาบัญชีผู้ใช้ สำหรับองค์กรขนาดเล็กเจ้าหน้าที่ควบคุมระบบอาจต้องดูแลและบริหารระบบเครือข่ายด้วย
ผู้ดูแลและบริหารระบบเครือข่าย (network administration)  
         ทำหน้าที่บริหารและจัดการออกแบบระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ และดูแลรักษาความปลอดภัยของระบบเครือข่ายขององค์กร เช่น ตรวจสอบการใช้งานเครือข่ายของพนักงานและติดตั้งโปรแกรมป้องกันผู้บุกรุกเครือข่าย


ผู้พัฒนาและบริหารระบบเว็บไซต์ (webmaster)
         ทำหน้าที่ออกแบบพัฒนา ปรับปรุงและบำรุงรักษาเว็บไซต์ให้มีความทันสมัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งต้องมีการปรับปรุงข้อมูลให้เป็นปัจจุบันอยู่เสมอ
เจ้าหน้าที่เทคนิค (technician)
         ทำหน้าที่ซ่อมบำรุงรักษาเครื่องคอมพิวเตอร์ ติดตั้งโปรแกรม  หรือติดตั้งฮาร์ดแวร์ต่างๆ  และแก้ไขปัญหาที่อาจเกิดจากการใช้งานอุปกรณืคอมพิวเตอร์ในองค์กร
นักเขียนเกม (game maker) 
         ทำหน้าที่เขียนหรือพัฒนาโปรแกรมเกมคอมพิวเตอร์ ในปัจจุบันนี้การเขียนเกมคอมพิวเตอร์ เป็นอาชีพที่ได้รับความนิยมอย่างสูงในประเทศไทย