วันพุธที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2555

บทที่ 1


บทที่ 1 เทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร



1.1 ความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร

          ปัจจุบันชีวิตความเป็นอยู่ นั้นล้วนแต่มีความเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่่อสารต่างๆ มากมาย ดังนั้น การเรียนรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยี เช่น



1.การศึกษาทางไกลผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์

2.การสั่งซื้อสินค้าและชำระเงินด้วยบัตรเครดิตผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ 

3.การเบิกเงินด้วยบัตร ATM จากตู้ ATM ของธนาคารต่างๆ


4.การส่ง E-Mail ซึ่่งเป็นการส่งข้อความถึงกันผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ผู้รับสามารถเปิดคอมพิวเตอร์เพื่ออ่านจดหมาย หรือข้อความต่างๆ ได้ และสามารถโต้ตอยกลับได้ทันที
 


คำว่า เทคโนโลยีสารสนเทศ (Inmformation Technology : IT) ประกอบด้วยคำว่า "เทคโนโลยี" กับ "สารสนเทศ"  นำมารวมกันได้ "เทคโนโลยีสารสนเทศ" และคำว่า เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (Inmformation Comunication Technology : ICT) ประกอบด้วยคำที่มีความหมายดังนี้ 
  • เทคโนโลยี (Technology) คือ เป็นการนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาใช้ในการประดิษฐ์สิ่งของต่างๆ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด
  • สารสนเทศ (Information) คือ ข้อมูลที่ผ่านกระบวนการต่างๆ อย่างมีระบบ จนได้สิ่งที่เป็นประโยชน์ มีคุณค่าและสาระ หรือมีเนื้อหาและรูปแบบที่เหมาะสมตามความต้องการของผู้ใช้


การส่งข้อมูลสารสนเทศจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง ผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์

  • เทคโนโลยีสารสนเทศ คือ การนำความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้เพื่อสร้างหรือจัดการกับสารสนเทศอย่างเป็นระบบและรวดเร็ว โดยอาศัยเทคโนโลยีทางด้านคอมพิวเตอร์ ทั้งนี้เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อบุคคล กลุ่มบุคคล หรือองค์กร และเทคโนโลยีสารสนเทศยังต้องพึ่งพาเทคโนโลยีสารสนเทศด้านการสื่อสาร และโทรคมนาคม เพื่อเป็นการส่งข้อมูลจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง โดยผ่านอุปกรณ์สื่อสารต่างๆ ดังนั้น เทคโนโลยีทั้งสองมักจะมาคู่กันเสมอๆ

  • เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร คือ เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับข่าวสารข้อมูล และการสื่อสาร นับตั้งแต่การสร้าง การนำมาวิเคราะห์หรือประมวลผล การรับและส่งข้อมูล การจัดเก็บและการนำข้อมูลกลับไปใช้งานใหม่



1.2 องค์ประกอบของสารสนเทศ

ฮาร์แวร์คอมพิวเตอร์
1.2.1 ฮาร์ดแวร์ (Hardware)    คือ ตัวเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วงต่างๆ และรวมไปถึงอุปกรณ์เชื่อมโยงคอมพิวเตอร์เข้าเป็นเครือข่าย
1.2.2 ซอฟต์แวร์ (Software)    คือ โปรแกรมหรือชุดคำสั่ง (instruction) ที่ใช้ควบคุมฮาร์ดแวร์ โดยซอฟต์แวร์แบ่งออกเป็น 


            
            1.2.2.1ซอฟต์แวร์ระบบ  (system  software)  หมายถึง  ชุดคำสั่งที่ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์  และอุปกรณ์ต่อพ่วงต่างๆ  และทำหน้าที่เป็นตัวกลางระหว่างผู้ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์
ซอฟต์แวร์ระบบแบ่งออกเป็น
          1) ระบบปฏิบัติการ (Operating System : OS) คือ ระบบที่ควบคุมการทำงานของอุปปรณ์และซอฟแวร์ภายในเครื่องทั้งหมด

ระบบปฏิบัติการต่างๆ


          2) โปรแกรมอรรถประโยชน์ (Utilities Programs)  คือ โปรแกรมที่ช่วยเสริมการทำงานของคอมพิวเตอร์ หรือช่วยโปรแกรมอื่นๆ ให้มีความสามารถใช้งานได้สะดวกและรวดเร็วยิ่งขึ้น 

โปรแกรมอรรถประโยชน์
          
         3) โปรแกรมขับอุปกรณ์ (Device Driver)  คือ โปรแกรมที่ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์สมารถติดต่ออุปกรณ์หรือใช้อุปกรณ์ต่างๆ  ได้

Device Driver
            
          4)  โปรแกรมแปลภาษา  เป็นโปรแกรมที่ทำหน้าที่แปลโปรแกรมที่เขียนขึ้นด้วยภาษาคอมพิวเตอร์ระดับสูงให้เป็นรหัสที่อยู่ในรูปแบบที่เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถทำงานได้  ดังรูปที่  1.9  ตัวอย่างตัวแปลภาษา  เช่น  ตัวแปลภาษาจาวา  ตัวแปลภาษาซี



         1.2.2.2 ซอฟต์แวร์ประยุกต์  (application  software)  หมายถึง  ชุดคำสั่งที่เขียนขึ้นเพื่อให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานตามวัตถุประสงค์เฉพาะอย่าง  ซอฟต์แวร์ประยุกต์อาจเขียนขึ้นโดยใช้โปรแกรมภาษาคอมพิวเตอร์  เช่น  เบสิก (Basic)  ปาสคาล  (Pascal)  โคบอล  (Cobol)  ซี  (C)  ซีพลัสพลัส (C++)  และจาวา (Java) ซอฟต์แวร์ประยุกต์แบ่งตามกลุ่มการใช้งานได้ดังตารางที่  1.1


1.2.3  ข้อมูล (data)   ข้อมูลจะถูกรวบรวมและป้อนเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์โดยผ่านอุปกรณ์ของหน่วยรับเข้า  เช่น  คีย์บอร์ด  เมาส์  และสแกนเนอร์  (scanner)  ข้อมูลต้องมีโครงสร้างในการจัดเก็บที่เป็นระบบเพื่อการสืบค้นที่รวดเร็วและมีประสิทธิภาพ  ข้อมูลจะถูกจัดเก็บอยู่ในหน่วยความจำ  (memory unit)  ก่อนที่จะถูกย้ายไปเก็บที่หน่วยเก็บข้อมูล  (storage unit)  เช่น  ฮาร์ดดิสก์  และแผ่นซีดี  (Compact  Disc: CD)  การป้อนข้อมูลเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์  ดังรูปที่  1.10


1.2.4  บุคลากร (people)   บุคลากรเป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่สุดของระบบสารสนเทศ  ในที่นี้หมายถึงบุคลากรที่เป็นผู้ใช้ระบบสารสนเทศ  ดังรูปที่ 1.11  บุคลากรที่เป็นผู้พัฒนาระบบสารสนเทศ  จะต้องมีความรู้ความสามารถในการพัฒนาระบบสารสนเทศให้มีประสิทธิภาพให้สามารถทำงานได้ตามความต้องการของผู้ใช้ใช้ง่ายและสะดวก  ส่วนผู้ใช้ต้องมีความรู้  ความเข้าใจ  และมีความสามารถในการใช้งานระบบสารสนเทศและการสื่อสารต่างๆ  ได้อย่างถูกต้องจึงจะเกิดสารสนเทศที่เป็นประโยชน์

รูปที่ 1.11 บุคลากรที่เป็นผู้ใช้ระบบสารสนเทศ

1.2.5  ขั้นตอนการปฏิบัติงาน (procedure)   ระบบสารสนเทศต้องมีขั้นตอนการปฏิบัติงานที่เป็นลำดับขั้นชัดเจน  เพื่อให้ผู้ใช้สามารถเข้าใจได้ง่าย  และดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ  ทั้งในสถานการณ์ปกติและสถานการณ์ฉุกเฉิน  เช่น  ขั้นตอนการบันทึกข้อมูล  ขั้นตอนการทำสำเนาข้อมูล  ขั้นตอนการปฏิบัติเมื่อข้อมูลได้รับความเสียหาย  หรือเมื่อเครื่องคอมพิวเตอร์  และอุปกรณ์ต่างๆ  เกิดการชำรุดเสียหาย  ขั้นตอนต่างๆ  เหล่านี้ควรได้รับการรวบรวมและจัดทำให้เป็นรูปเล่ม  ของคู่มือการใช้งาน  ดังรูปที่  1.12

รูปที่ 1.12 คู่มือการใช้งาน
องค์กรต่างๆ  มีการลงทุนจำนวนมากในการจัดหาระบบสารสนเทศที่มีประสิทธิภาพเพื่อนำมาช่วยงานทั้งด้านการบริหารและการจัดการงานทั่วไปขององค์กร  โดยเน้นที่คุณภาพของระบบสารสนเทศและความคุ้มค่าในการลงทุน  การใช้ระบบสารสนเทศจะเริ่มจากการนำข้อมูลป้อนเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์  ระบบคอมพิวเตอร์จะทำการประมวลผลข้อมูลเหล่านั้น  แล้วจึงส่งผลลัพธ์ออกมาให้กับผู้ใช้  ผู้ใช้ระบบสารสนเทศจะนำสารสนเทศนั้นไปใช้ประกอบการตัดสินใจในการทำกิจกรรมใดกิจกรรมหนึ่ง  หากผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผลไม่ถูกต้องหรือไม่สมบูรณ์  ก็จะต้องย้อนมาพิจารณาเริ่มต้นที่ขั้นตอนการป้อนข้อมูลใหม่อีกครั้งว่า  ข้อมูลเข้า  และขั้นตอนอื่นๆ  มีความถูกต้อง  สมบูรณ์หรือไม่  ดังรูปที่  1.13





1.3 ประโยชน์และตัวอย่างของการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

การศึกษาทางไกล บนเครื่อข่ายอินเทอร์เน็ต

ประโยชน์ของเทคโนโลยีสารสนเทศ
          การกำเนิดของคอมพิวเตอร์เมื่อประมาณห้าสิบกว่าปีที่แล้ว เป็นก้าวสำคัญที่นำไปสู่ยุคสารสนเทศ ในช่วงแรกมีการนำเอาคอมพิวเตอร์มาใช้เป็นเครื่องคำนวณ แต่ต่อมาได้มีความพยายามพัฒนาให้คอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์สำคัญสำหรับการจัดการข้อมูล เมื่อเทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์ได้ก้าวหน้ามากขึ้น ทำให้สามารถสร้างคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดเล็กลง แต่ประสิทธิภาพสูงขึ้น สภาพการใช้งานจึงใช้งานกันอย่างแพร่หลาย ผลของเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีต่อชีวิตความเป็นอยู่และสังคมจึงมีมาก มีการเรียนรู้และใช้สารสนเทศกันอย่างกว้างขวาง ผลของเทคโนโลยีสารสนเทศโดยรวมกล่าวได้ดังนี้
ตัวอย่างการเทคโนโลยีสารสนเทศ
         ระบบเอทีเอ็ม
เป็นระบบที่อำนวยความสะดวกสบายอย่างมากให้แก่ผู้ใช้บริการธนาคารและเป็นตัวอย่างเทคโนโลยีสารสนเทศทีได้รับการนำมาใช้เป็นกลยุทธ์ในการแข่งขันทางธุรกิจ ดังรูปที่ 1.13โดยในปีพ.ศ. 2520 เป็นปีที่มีการใช้เอทีเอ็มเครื่องแรกของโลก ธนาคารซิตี้แบงก์ ในเมืองนิวยอร์กเริ่มให้บริการฝากและถอนเงินโดยอัตโนมัติแก่ลูกค้า ซึ่งสามารถใช้บริการได้ตลอด 24 ชั่วโมงรวมวันเสาร์-อาทิตย์ด้วย ในขณะที่ธนาคารอื่น ๆ ที่ตั้งอยู่ใกล้ ๆ บนถนนสายเดียวกันให้บริการลูกค้าในเวลาปกติเท่านั้น คือ เฉพาะวันจันทร์ถึงศุกร์ เวลา 8.00-14.00 น.หลังจากบ่ายสองโมงก็หมดโอกาสได้รับบริการฝากถอนเงินแล้ว เมื่อวิเคราะห์มุมมองในการแข่งขันของธนาคารในการให้บริการลูกค้า กล่าวได้ว่า ระบบเอทีเอ็มของธนาคารซิตี้แบงก์เป็นบริการใหม่ที่ทำให้ลูกค้าได้รับความ
สะดวกสบาย และคล่องตัวได้ดึงดูดลูกค้าจากธนาคารอื่นมาเป็นลูกค้าของธนาคารตัวเอง และเพิ่มส่วนแบ่งการตลาดขึ้นมาเกือบสามเท่าตัวในช่วงเวลาประมาณ เดือน ก่อนที่ธนาคารคู่แข่งจะหันมาให้บริหารเอทีเอ็มบ้าง
         การลงทะเบียนเรียน
การลงทะเบียนเรียนในมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง นักศึกษาแต่ละคนสามารถเลือกเรียนวิชาที่สนใจ แต่ต้องเป็นวิชาที่กำหนดในหลักสูตร การลงทะเบียนแต่ละวิชามีข้อจำกัดคือ จำนวนนักศึกษาแต่ละห้องมีจำนวนจำกัด ดั้งนั้นการลงทะเบียนเรียนจึงต้องอาศัยข้อมูลจากการประมวลผล
แบบเชื่อมตรง เพื่อให้สามารถตรวจสอบได้ทันทีว่ามีวิชาอะไรเปิดสอนบ้าง วิชาใดมีผู้สมัครเรียนเต็มแล้ว ถ้าเต็มแล้วสามารถเปลี่ยนกลุ่ม  หรือวิชาใดแทนได้บ้าง
         การบริการและการทำธุรกรรมบนอินเทอร์เน็ต
การเติบโตของเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ทำให้มีผู้ใช้งานกันอย่างกว้างขวาง เครือข่ายอินเทอร์เน็ตเชื่อมโยงกันทั่วโลก ทำให้การสื่อสารระหว่างกันบนอินเทอร์เน็ตทำได้ง่ายและค่าใช้จ่าย
ที่ตํ่ากว่าระบบการสื่อสารแบบอื่น การสื่อสารที่นิยมบนอินเทอร์เน็ต ได้แก่ การรับส่งข้อมูลทำการแลกเปลี่ยน โอนย้ายแฟ้มข้อมูลระหว่างกัน การส่งอีเมล์ การกระจายทำการในรูปแบบเว็บเพ็จ ตลอดจนการโต้ตอบสื่อสารแบบส่งข้อความและประยุกต์ในเรื่องธุรกิจอีกมากมาย





1.4 แนวโน้มการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
1.4.1 ด้านอุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร  
            เมื่อพิจารณาเครือข่ายการสื่อสารทั่วไปจากอดีตจนถึงปัจจุบัน  เห็นได้ชัดว่ามนุษย์ใช้อุปกรณ์การสื่อสารแบบพกพามากขึ้นเรื่อยๆ  เริ่มจากวิทยุเรียกตัว (pager) ซึ่งเป็นเครื่องรับข้อความ  มาเป็นถึงโทรศัพท์เคลื่อนที่  อุปกรณ์สื่สารชนิดนี้ได้ถูกพัฒนาจนสามารถใช้งานด้านอื่นๆได้  นอกจากการพูดคุยธรรมดา  โทรศัพท์เคลื่อนที่รุ่นใหม่สามารถใช้ถ่ายรูป  ฟังเพลง  ฟังวิทยุ  ดูโทรทัศน์  บันทึกข้อมูงสั้นๆ  บางรุ่นมีลักษณะเป็นเครื่องช่วยงานส่วนบุคคล (Personal Digital Assistant : PDA) ซึ่งสามารถเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตได้  อีกทั้งยังมีหน้าจอแบบสัมผัส  ทำให้สะดวกต่อการใช้งานมากขึ้น  บางรุ่นมีอุปกรณ์สไตลัส (stylus) คือ ใช้ปากกาป้อนข้อมูลทางหน้าจอ  บางรุ่นสามารถสั่งด้วยเสียง
               
อุปกรณ์สารสนเทศแบบพกพา


         ในอนาคตอันใกล้มนุษย์จะมีอุปกรณ์ที่ทันสมัยใช้กันมากขึ้น  นอกเหนือจากการพูดคุยแบบเห็นหน้าผ่านทางอินเตอร์เน็ต  มนุษย์สามารถพูดคุยแบบเห็นหน้าผ่านทางโทรศัพท์มือถือ  ทำให้สามารถติดต่อกันได้ด้วยค่าใช้จ่ายถูกลง  สามารถส่งข้อความ ภาพ และเสียง ได้โดยง่าย  สะดวกรวดเร็ว อีกทั้งยังค้นหาข้อมูลด้วยภาษาที่เป็นธรรมชาติมากขึ้นด้วยเว็บรุ่นที่สาม (Web 3.0) 

ตัวอย่างการใช้งานอุปกรณ์คอมพิวเตอร์แบบพกพารุ่นใหม่

           ดังนั้นอุปกรณ์สำหรับเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในอนาคตมีแนวโน้มเป็นดังนี้ คือ มีขนาดเล็กลง พกพาได้ง่าย แต่มีปรัสิทธิภาพสูงขึ้น เช่น เก็บข้อมูลได้มากขึ้น ประมวลผลได้เร็วขึ้น ใช้งานได้หลากหลายมากขึ้น โดยมีการผนวกอุปกรณ์หลายๆอย่างไว้ในเครื่องเดียว(all-in-one) ที่สำคัญอุปกรณ์เหล่านี้ต้องใช้งานง่ายขึ้น รวมถึงสามารถสั้งการด้วยเสียงได้ นอกจากนี้ ยังมีระบบรักศาความปลอดภัยที่ดีขึ้น โดยอาศัยหลายนิ้วมือหรือจ่อม่านตา แทนการพิมรหัสผ่านแบบในปัจจุบัน

1.4.2 ด้านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ 
          ระบบเครื่องข่ายคอมพิวเตอร์ในอดีตมังเป็นระบบที่ใช้คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์เชื่อมต่อตรงโดยจุดเดียว (stand alone) ต่อมามีการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกันภายในองค์กร เพื่อทำให้สามารถใช้ข้อมูลร่วมกัน หรือใช้เครื่องพิมพ์ร่วมกัน จนเกิดเป็นระบบรับและให้บริการ หรือที่เรียกว่าระบบรับ-ให้บริการ (client-server system) โดยมีเครื่องให้บริการ (server) และเครื่องรับบริการ (client) การให้บริการบนเว็บก็นำหลักการของระบบรับ-ให้บริการมาใช้ช่วยให้การทำงานง่ายขึ้น สะดวก รวดเร็ว เพราะสามารถทำงานจากที่ใดก็ได้โดยผ่านระบบอินเตอร์เน็ต โดยมีเว็บเซอร์เวอร์ (web server) เป็นเครื่องให้บริการ

client-server system

          เมือการใช้งานอินเตอร์เน็ตเป็นไปอย่างแพร่หลาย การพัฒนาระบบเครือข่ายเพื่อให้ผู้ใช้สามารถสื่อสารและแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้โดยตรง โดยที่เครื่องบริการมีหน้าที่เพียงแค่เก็บตำแหน่งของเครื่องผู้ใช้งานที่มีข้อมูลนั้นๆ อยุ่เพื่อให้เครื่องอื่นสามารถทราบที่อยู่ที่มีข้อมูลดังกล่าว และเข้าถึงข้อมูลนั้นได้ เรียกระบบเหล้านี้ว่าระบบเดียวกัน(Peer-to-Peer network: P2P network)

P2P Network

          ปัจจุบันมีการใช้งานแลนไร้สาย(wireless LAN) ในสถาบันการศึกษา และองค์กรณ์หลายแห่ง การให้บริการแลนไร้สาย หรือไวไฟ (Wi-Fi) ตามห้างสรรพสินค้า ร้านขายเครื่องดื่ม หรือห้องรับลองของโรงแรมใหญ่ๆ ภาตใต้ความร่วมมือของผู้ให้บริการ ทำให้นักธุรกิจสามารถดำเนินธุรกรรมผ่านระบบอินเตอร์เน็ตแบบไร้สายได้ หรือบางรายอาจชื้อบริการอินเตอร์เน็ตแบบตำแหน่งรถด้วยจีพีเอส (Global Positioning System: GPS) กับรถแท็กซี่ เพื่อความปลอดภัยของทั้งผู้โดยสารและผู้ขับรถ
การใช้งานระบบเครือข่ายแบบไร้สาย

1.4.3 ด้านเทคโนโลยี 
         ระบบทำงานอัตโนมัติที่สามารถตัดสินใจได้เองจะเข้ามาแทนที่มากขึ้น เช่น ระบบแนวนำเส้นทางจราจร ระบบจอดรถ ระบบตรวจหาตำแหน่งของวัตถุ ระบบควบคุมความปลอดภัยภายในอาคาร ระบบที่ทำงานอัตโนมัติเช่นนี้ อาจกลายเป็นระบบหลักในการดำเนินการของหน่วยงานต่่างๆ โดยเข้ามาแทนที่การทำงานของมนุษย์ มีการเชื่อมต่ออย่างกว้างขวางไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมากกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน

            พีเอ็นดี (Personal Navigation Devie: PND) เป็นอุปกรณ์เพื่อช่วยในการนำทาง เสมือนผู้นำทางบนท้องถนนเพือให้เกิดความคล่องตัว ค้นหาเส้นทางไปยังจุดหมายได้อย่างถูกต้อง และรวดเร็ว หรือช่วยบริการเส้นทางการเดินทาง นอกจากนี้ยังสามารถรายงานสถานการหรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นระหว่างการเดินทางได้ิีอีกด้วย
             เทคโนโลยีอาร์เอฟไอดี (Radio Frequency Identification: RFID)  เป็นเทคโนโลยีที่ใช้คลื่นวิทยุเพื่อระบุเอกลักษณ์ของวัสถุ ประกอบด้วยอุปกรณ์หลักสองส่วน คือ ป้ายระบบอิเล็กทรอนิกส์ (electronice tag) และเครื่องอ่าน (reader) ตัวอย่างเช่น ในห้างสรรพสินค้ามีป้ายระบุอิเล็กทรอนิกส์ติดอยู่ที่สินค้าแต่ละชนิด และมีเครื่อง่านติดอยุ่ที่ประตุทางออก หรือจุดชำระเงิรเมื่อต้องการชำระเงินค่าสินค้า พนักงานจะใช้เครื่องอ่านอ่านราคาสินค้าจากป้ายระบุอิเล็กทรอนิกส์ ก็จะทราบราคาสินค้าหรือถ้าลืมชำระเงินแล้วเดินผ่านประตูเครื่องอ่านก็จะส่งสัญญาณเตือน




1.5 ความเปลี่ยนแปลงการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร


          ความก้าวหน้าของอุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเป็นไปอย่างรวดเร็วเพื่อสนองความต้องการด้านต่างๆ ของผู้ใช้ในปัจจุบันซึ่งมีจำนวนผูใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารทั่วโลกประมาณพันล้านคน และเพิ่มขึ้นเรื่อยๆทุกปี  ผู้ใช้สามารถใช้งานอุปกรณ์ดังกล่าวได้ทุกที่ทุกเวลา จึงทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงด้านต่างๆ ทั้งที่เกิดประโยชน์และโทษ เช่น
1)  ด้านสังคม  สภาพเหมือนจริงการใช้อินเทอร์เน็ตเชื่อมโยงการทำงานต่างๆ จนเกิดเป็นสังคมที่ติดต่อผ่านทางอินเทอร์เน็ต หรือที่รู้จักกันว่า ไซเบอร์สเปช (cyber space) ซึ่งมีกิจกรรมต่างๆ เช่นการพูดคุย การซื้อสินค้า และบริการ การทำงานผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทำให้เกิดสภาพที่เสมือนจริง (virtual) เช่น เกมเสมือนจริง ห้องเรียนเสมือนจริง ห้องสมุดเสมือนจริง พิพิธภัณฑ์เสมือนจริง ห้องประชุมเสมือนจริง และที่ทำงานเสมือนจริง ซึ่งทำให้ช่วยลดเวลาในการเดินทางและสามารถใช้งานได้ทุกที่ทุกเวลา ตัวอย่างสภาพเสมือนจริง  ดังรูปที่  1.31


รูปที่1.31 ตัวอย่างภาพเสมือนจริง
               
         สำหรับเกมเสมือนจริง อาจสร้างปัญหาให้กับผู้ใช้ที่ไม่สามารถแยกระหว่างเกมหรือชีวิตจริงอาจใช้ความรุนแรงเลียนแบบเกม และเกิดปัญหาอาชญากรรมตามที่เป็นข่าวในสังคมปัจจุบัน
          การใช้เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์ (e-cash) การใช้เงินตราจะเริ่มเปลี่ยนรูปแบบเป็นการใช้เงินอิเล็กทรอนิกส์มากขึ้น  ทำให้พกเงินสดน้อยลง เพิ่มความสะดวกในการซื้อสินค้าและบริการต่างๆด้วยบัตรที่มีลักษณะเป็นบัตรสมารต์ หรือสมาร์ตการ์ด (smart card) ดังรูปที่  1.32  ซึ่งบัตรใบเดียวสามารถใช้ได้กับธุรกรรมหลายประเภท ตั้งแต่เป็นบัตรประจำตัวประชาชน ใบอนุญาตขับขี่  บัตรประจำตัวพนักงาน หรือบัตรประจำตัวนักเรียน นักศึกษา บัตรเอทีเอ็ม บัตรเครดิต ตลอดจนบัตรสมาชิกห้างสรรพสินค้า ร้านค้าและร้านอาหารต่างๆ


รูปที่ 1.32 สมาร์ตการ์ด
          
           เนื่องจากพฤติกรรมการใช้เงินที่เปลี่ยนแปลงไปดังกล่าว  ข้อมูลส่วนบุคคลจะถูกจัดเก็บไว้ในระบบอิเล็กทรอนิกส์มากขึ้น อาจมีผู้ประสงค์ร้ายลักลอบนำข้อมูล เช่น  ชื่อ-นามสกุล เลขที่บัตรประจำตัวประชาชน เบอร์โทรศัพท์ และรหัสที่ใช้ในการถอนเงิน ซึ่งเป็นข้อมูลส่วนบุคคลมาใช้ในทางที่ผิด เช่น ลักลอบเข้าสู่ระบบฐานข้อมูลบัญชีเงินฝากของธนาคาร เพื่อโอนเงินเข้าบัญชีตนเอง การโทรศัพท์มาแอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่ของกรมสรรพากร หลอกให้ทำการโอนเงินจากบัญชีออกไปให้ โดยบอกว่าจะทำการคืนเงินภาษีทางระบบอิเล็กทรอนิกส์  
          บริการนำเสนอแบบตามคำขอหรือออนดีมานด์ (on demand)  เป็นการเข้าถึงข้อมูลตามความต้องการของผู้ใช้ได้ตลอดเวลา เช่น  การเลือกชมรายการโทรทัศน์ หรือฟังรายการวิทยุ ตามตารางที่ทางสถานีกำหนดไว้ล่วงหน้า
           การศึกษาออนดีมานด์ (education on demand) เป็นการเปิดเว็บไซต์ขของสถาบันการศึกษา ณ ที่ใดเวลาใดก้ได้ แล้วเลือกวิชาเรียน บทเรียนได้ ซึ่งเป็นลักษณะหนึ่งของอิเลิร์นนิง (e-Learning)  ตัวอย่างของการนำเสนอรายการโทรทัศน์แบบออนดีมานด์ ดังรูปที่  1.34


รูปที่ 1.34 ตัวอย่างของการนำเสนอรายการโทรทัศน์แบบออนดีมานด์
               
              การได้รับเทคโนโลยีมากเกินไป (technology overload) การพัฒนาของเทคโนโลยีเป็นไปอย่างต่อเนื่องและรวดเร็ว โดยมีรูปแบบที่หลากหลายทำให้น่าสนใจ และสะดวกในการเข้าถึง สิ่งเหล่านี้เป็นแรงดึงดูดให้บุคคลเกิดความลุ่มหลงจนเกิดเป็นอาการติดเทคโนโลยี  เช่น ติดการใช้โทรศัพท์มือถือ การถ่ายคลิป การเข้าถึงข้อมูลในอินเทอร์เน็ต การส่งข้อความออนไลน์ การใช้อีเมล หรือการเล่นเกมออนไลน์ ซึ่งอาจนำไปสู่ปัญหาสุขภาพ รวมถึงการทำลายสัมพันธภาพทางสังคม เช่นครอบครัว กลุ่มเพื่อน หรือเพื่อนร่วมงานได้ ผู้ติดเทคโนโลยีมีอาการในลักษณะเดียวกับผู้ติดสิ่งเสพติดอย่างการพนัน สุรา หรือยาเสพติด ดังรูปที่ 1.35 เริ่มต้นจากการแสวงหาเทคโนโลยีใหม่ๆ อย่างสม่ำเสมอ เพิ่มระดับการใช้งานเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่อง จนถึงอยู่ในภาวะที่ไม่สามารถหยุดการใช้งาน        
      เทคโนโลยีได้เกิดความรู้สึกกระวนกระวายใจเมื่อลืมโทรศัพท์มือถือหรืออยู่ในสถานที่ที่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตไม่ได้ถึงแม้จะตระหนักถึงผลที่ตามมาเป็นอย่างดีก็ตาม ดังนั้นผู้ปกครองจึงควรให้การเอาใจใส่  ติดตามการใช้เทคโนโลยีให้อยู่ในขอบเขตที่เหมาะสมส่งเสริมให้มีการใช้เวลาว่างในการทำกิจกรรมอื่นๆ ที่เป็นประโยชน์ แทนการใช้งานเทคโนโลยี ที่มากเกินไป

ที่มา http://album.sanook.com/files/857664
รูปที่ 1.35 การได้รับเทคโนโลยีมากเกินไปจนมีอาการเหมือนสิ่งเสพติด
                
2.  ด้านเศรษฐกิจ  เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารส่งผลให้เกิดสังคมโลกาภิวัตน์ (globalization) เพราะสามารถชมข่าว ชมรายการโทรทัศน์ที่ส่งกระจายผ่านดาวเทียมของประเทศต่างๆ ได้ทั่วโลก สามารถรับรู้ข่าวสารได้ทันที ใช้อินเทอร์เน็ตในการติดต่อสื่อสารระหว่างกัน ระบบเศรษฐกิจซึ่งแต่เดิมมีขอบเขตจำกัดภายในประเทศ  ก็กระจายเป็นเศรษฐกิจโลก เกิดกระแสการหมุนเวียนแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการอย่างกว้างขวางและรวดเร็ว ระบบเศรษฐกิจของทุกประเทศในโลกจึงเชื่อมโยงและผูกพันกันมากขึ้น ดังรูปที่ 1.36
3.  ด้านสิ่งแวดล้อม  เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มีประโยชน์ในด้านธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เช่น ระบบป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง โดยใช้ภาพถ่ายดาวเทียม หรือภาพถ่ายทางอากาศร่วมกับการจัดเก็บรักษาข้อมูลระดับน้ำทะเล ความสูงของคลื่นจากระบบเรดาร์ เป็นการศึกษาเพื่อหาสาเหตุ และนำข้อมูลมาวางแผนและสร้างระบบเพื่อป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งแต่ละแห่งได้อย่างเหมาะสม
          นอกจากนี้ในรถยนต์ที่ใช้เครื่องยนต์แบบผสม (hyblid engine)  เพื่อรักษาสิ่งแวดล้อมก็ต้องใช้เทคโนโลยีเพื่อการควบคุมให้เครื่องยนต์ลดการเผาไหม้น้ำมันเชื้อเพลิง เป็นการช่วยลดมลภาวะจากก๊าซไนโตรเจนออกไซด์ ไฮโดรคาร์บอน และก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ ที่ทำให้เกิดภาวะโลกร้อน ตัวอย่างเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารช่วยรักษาธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ดังรูปที่ 1.37
                ขยะอิเล็กทรอนิกส์ เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ จอภาพ คีย์บอร์ด  เมาส์ เครื่องพิมพ์ ที่เสียหรือไม่ใช้งานแล้ว รวมถึงอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อื่นๆ ที่ถูกทิ้งเป็นขยะ ซึ่งต่างจากขยะทั่วไป เช่นถุงพลาสติก และเศษอาหาร โดยในขยะอิเล็กทรอนิกส์ชิ้นหนึ่งๆ มีส่วนประกอบที่เป็นโลหะและพลาสติก รวมถึงวัสดุอื่นๆ ที่ประกอบกันอย่างซับซ้อน ยากต่อการแยกออกมา โดยเฉพาะในแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ มีรายงานพบว่าขยะเหล่านี้นอกจากจะมีปริมาณเพิ่มขึ้นมากอย่างรวดเร็วแล้ว ยังปลดปล่อยสารพิษปะปนเข้าสู่สิ่งแวดล้อม  การจะแยกชิ้นส่วนขยะอิเล็กทรอนิกส์แล้วนำกลับมาหลอมใช้ใหม่  หรือรีไซเคิล จึงทำได้ยากมากกว่าขยะทั่วไป เพราะต้องมีขั้นตอนวิธีที่เหมาะสม จึงต้องมีการศึกษาอย่างละเอียดโดยผู้เชี่ยวชาญและต้องจัดการอย่างมีระบบ ดังนั้นจึงควรใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ให้คุ้มค่า จะซื้อใหม่เมื่ออุปกรณ์นั้นไม่สามารถซ่อมแซมได้แล้ว และไม่เปลี่ยนอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์บ่อยๆ ตามกระแสนิยม ตัวอย่างขยะอิเล็กทรอนิกส์ ดังรูปที่ 1.38

ที่มา http://www.greenpeace.org/seasia/th/campaigns/toxics/electronics/where-does-e-waste-end-up/
รูปที่ 1.38 ขยะอิเล็กทรอนิกส์





1.5 ตัวอย่างอาชีพทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
         ตลาดแรงงานต้องการผู้ที่มีความรู้ความเข้าใจงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารอย่างแท้จริง ซึ่งงานด้านนี้จะรวมถึง งานด้านการออกแบบโปรแกรมต่างๆ โปรแกรมใช้งานบนเว็บงานด้านการเขียนโปรแกรมภาษาคอมพิวเตอร์ งานด้านฐานข้อมูล  งานด้านระบบเครือข่าย ดังนั้นองค์กรจึงมีความต้องการบุคลากรที่มีความรู้  ความสามารถในการบริหารจัดการ และพัฒนาซอฟแวร์เพื่อใช้งานด้านต่างๆ ขององค์กร ตัวอย่างอาชีพด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เช่น
นักเขียนโปรแกรมหรือโปรแกรมเมอร์  (Programmer)        ทำหน้าที่ในการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อใช้ในงานด้านต่างๆ เช่นโปรแกรมเกี่ยวกับการซื้อขายสินค้า โปรแกรมที่ใช้กับงานด้านบัญชี หรือโปรแกรมที่ใช้กับระบบงานขนาดใหญ่ขององค์กร
นักวิเคราะห์ระบบ  (System  analyst) 
         ทำหน้าที่ในการศึกษาวิเคราะห์ และพัฒนาระบบสารสนเทศ  นักวิเคราะห์ระบบจะทำการวิเคราะห์ระบบงานและออกแบบระบบสารสนเทศให้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้งาน ซึ่งอาจรวมถึงงานด้านการออกแบบฐานข้อมูลด้วย


ผู้ดูแลและบริหารฐานข้อมูล (database administrator)           ทำหน้าที่บริหารและจัดการฐานข้อมูล (database ) รวมถึงการออกแบบ บำรุงรักษาข้อมูล และการดูแลระบบความปลอดภัยของฐานข้อมูล เช่น การกำหนดบัญชีผู้ใช้การกำหนดสิทธิ์ผู้ใช้
ผู้ดูแลและบริหารระบบ (system administrator) 
         ทำหน้าที่บริหารและจัดการระบบคอมพิวเตอร์ในองค์กร โดยดูแลการติดตั้งและบำรุงรักษาระบบปฏิบัติการ การติดตั้งฮาร์ดแวร์  การติดตั้งและการปรับปรุงซอฟต์แวร์ สร้าง ออกแบบและบำรุงรักษาบัญชีผู้ใช้ สำหรับองค์กรขนาดเล็กเจ้าหน้าที่ควบคุมระบบอาจต้องดูแลและบริหารระบบเครือข่ายด้วย
ผู้ดูแลและบริหารระบบเครือข่าย (network administration)  
         ทำหน้าที่บริหารและจัดการออกแบบระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ และดูแลรักษาความปลอดภัยของระบบเครือข่ายขององค์กร เช่น ตรวจสอบการใช้งานเครือข่ายของพนักงานและติดตั้งโปรแกรมป้องกันผู้บุกรุกเครือข่าย


ผู้พัฒนาและบริหารระบบเว็บไซต์ (webmaster)
         ทำหน้าที่ออกแบบพัฒนา ปรับปรุงและบำรุงรักษาเว็บไซต์ให้มีความทันสมัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งต้องมีการปรับปรุงข้อมูลให้เป็นปัจจุบันอยู่เสมอ
เจ้าหน้าที่เทคนิค (technician)
         ทำหน้าที่ซ่อมบำรุงรักษาเครื่องคอมพิวเตอร์ ติดตั้งโปรแกรม  หรือติดตั้งฮาร์ดแวร์ต่างๆ  และแก้ไขปัญหาที่อาจเกิดจากการใช้งานอุปกรณืคอมพิวเตอร์ในองค์กร
นักเขียนเกม (game maker) 
         ทำหน้าที่เขียนหรือพัฒนาโปรแกรมเกมคอมพิวเตอร์ ในปัจจุบันนี้การเขียนเกมคอมพิวเตอร์ เป็นอาชีพที่ได้รับความนิยมอย่างสูงในประเทศไทย


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น